ที่ SET 50/43
13 พฤศจิกายน 2550
เรื่อง คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัท ประจำไตรมาส 3 ปี 2550
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม
เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2550 บริษัทได้สละสิทธิในการจองหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของบริษัทบำรุง ราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ("BIL") เพื่อให้ Asian Financial Holding ("AFH") เข้าถือหุ้นใน BIL 19.5% เป็นผลให้บริษัทลดสัดส่วนการถือหุ้นใน BIL จาก 51.0% เป็น 31.5% และเปลี่ยนสถานะจาก บริษัทย่อยเป็นบริษัทร่วม ดังนั้นรายการบัญชีของ BIL ได้รวมอยู่ในงบการเงินรวมของบริษัท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2550 ขณะที่ ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 รายการบัญชีของ BIL ไม่ได้รวมอยู่ในงบการเงินรวมของ บริษัท โดยที่บริษัทใช้วิธีส่วนได้เสียแทน เป็นผลให้งบกำไรขาดทุนงวด 9 เดือนของปี 2549 สะท้อนผลการ รวมรายการบัญชีของ BIL ในงบการเงินของบริษัททั้ง 9 เดือน ในขณะที่งบกำไรขาดทุนงวด 9 เดือนของปี 2550 สะท้อนผลการรวมรายการบัญชีของ BIL ในงบการเงินของบริษัทเฉพาะในไตรมาสแรก และการใช้วิธี ส่วนได้เสียของผลประกอบการของ BIL ในไตรมาสที่สอง และไตรมาสที่สาม2. รายได้ กำไรสุทธิ และอัตรากำไร (Margins)
ในไตรมาส 3 ปี 2550 บริษัทมีรายได้จากกิจการโรงพยาบาล 2,155 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จาก 2,042 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2549 เนื่องจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของกิจการโรงพยาบาล โดย ที่รายได้จากผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8 และรายได้จากผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 6 รายได้ จากกิจการโรงพยาบาลของบริษัทในไตรมาส 3 ปี 2550 มีอัตราการเติบโตน้อยกว่าปกติ เนื่องจากจำนวน ผู้ป่วยทั้งไทยและต่างประเทศของโรงพยาบาลมีจำนวนน้อยลงเล็กน้อย โดยที่จำนวนผู้ป่วยไทยที่ลดลงนั้น เนื่องมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ สำหรับผู้ป่วยต่างประเทศ นอกจากการชะลอตัวของ เศรษฐกิจโลกโดยรวมแล้ว มีผู้ป่วยสองกลุ่มที่มีผลกระทบอย่างชัดเจนในไตรมาส 3 ปี 2550 คือ (1) กลุ่ม ผู้ป่วยชาวตะวันออกกลาง ซึ่งการที่เทศกาลรามาดาลเริ่มเร็วกว่าปีที่แล้ว 10 วัน (13 กันยายน - 13 ตุลาคม 2550 เปรียบเทียบกับ 23 กันยายน - 23 ตุลาคม 2549) ทำให้กลุ่มผู้ป่วยชาวตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นกลุ่ม ผู้ป่วยที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท ไม่เดินทางในช่วงเวลาดังกล่าว และ (2) ผู้ป่วยจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับ ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง
1
รายได้รวมในไตรมาส 3 ปี 2550 เท่ากับ 2,222 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 2,131 ล้านบาทใน ไตรมาส 3 ปี 2549 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 ซึ่งน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้จากกิจการโรงพยาบาล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการรวมรายการบัญชีของ BIL ซึ่งมีผลต่อรายการบัญชี 2 รายการดังนี้ (1) การ ลดลงของส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ในไตรมาส 3 ปี 2549 บริษัทมีส่วนแบ่งกำไรจำนวน 30 ล้านบาท เป็นส่วนแบ่งจาก Asian Hospital, Inc. (AHI) บริษัทร่วมของ BIL ซึ่งรวมกำไรพิเศษที่เกิดขึ้นครั้ง เดียวจากการลงทุนใน AHI จำนวน 26 ล้านบาท ในขณะที่ส่วนแบ่งกำไรจำนวน 11 ล้านบาทเป็นส่วนแบ่ง ของ BIL (2) รายได้จากกิจการโรงพยาบาลของ BIL ไม่ได้รวมอยู่ในงบการเงินรวมของบริษัทในไตรมาส 3 ปี 2550 ขณะที่บริษัทบันทึกรายได้จากกิจการโรงพยาบาลของ BIL เป็นจำนวน 10 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2549
สำหรับไตรมาส 3 ปี 2550 บริษัทมีต้นทุนกิจการโรงพยาบาล 1,327 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากไตรมาส 3 ปี 2549 ซึ่งเท่ากับอัตราการเพิ่ มขึ้นของรายได้ อัตรากำไรขั้นต้น จึงคงอยู่ที่ 38.4% ใน ไตรมาส 3 ปี 2550 เท่ากับไตรมาส 3 ปี 2549
บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการบริหารค่อนข้างคงที่อยู่ ที่ 330 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2550 เปรียบเทียบกับ 326 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2549 เป็นผลให้กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของบริษัทเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8 จาก 508 ล้านบาท ในไตรมาส 3 ปี 2549 เป็น 552 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2550 ส่วนอัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และ ค่าตัดจำหน่าย (EBITDA margin) ในไตรมาส 3 ปี 2550 อยู่ที่ 25.0% เพิ่มขึ้นจาก 24.3% ในไตรมาส 3 ปี 2549
ถึงแม้ว่ากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ของบริษัทเพิ่มขึ้น ในอัตราร้อยละ 8 ซึ่งสูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้รวม แสดงถึงการมีประสิทธิภาพของการบริหาร กิจการโรงพยาบาล บริษัทมีกำไรสุทธิ 306 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2550 ใกล้เคียงกับ 309 ล้านบาทใน ไตรมาส 3 ปี 2549 โดยมีสาเหตุหลักจาก (1) การลดลงของส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ดังที่ ชี้แจงแล้วข้างต้น และ (2) ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 18 จาก 87 ล้านบาทใน ไตรมาส 3 ปี 2549 เป็น 103 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2550 จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในอุปกรณ์และ เครื่องมือในอาคารโรงพยาบาลปัจจุบันที่มีอายุการใช้งานสิบปีแล้ว ดังนั้นอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 13.8% ใน ไตรมาส 3 ปี 2550 เทียบกับ 14.5% ในไตรมาส 3 ปี 2549
ในงวด 9 เดือน ปี 2550 บริษัทมีรายได้จากกิจการโรงพยาบาล 6,274 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จาก 5,761 ล้านบาทในงวด 9 เดือน ปี 2549 เนื่องจากการเติบโตของรายได้จากผู้ป่วยใน ในอัตราร้อยละ 9 และรายได้จากผู้ป่วยนอก ในอัตราร้อยละ 10 บริษัทมีรายได้จากกิจการบริหารโรงพยาบาล 17 ล้านบาท ในงวด 9 เดือน ปี 2550 ซึ่งรวมรายได้จากกิจการโรงพยาบาลของ BIL เพียงไตรมาสแรก เทียบกับ 47 ล้าน บาทในงวด 9 เดือน ปี 2549 ซึ่งรวมรายได้จากกิจการโรงพยาบาลของ BIL ทั้ง 9 เดือน รายได้รวมในงวด 9 เดือน ปี 2550 เท่ากับ 6,468 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับ 5,954 ล้านบาทในงวด 9 เดือน ปี 2549
2
บริษัทมีต้นทุนกิจการโรงพยาบาล 3,849 ล้านบาท ในงวด 9 เดือน ปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากงวด 9 เดือน ปี 2549 ซึ่งเพิ่มขึ้นน้อยกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้จากกิจการโรงพยาบาล ดังนั้น อัตรากำไรขั้นต้นจึงสูงขึ้นจาก 38.0% ในงวด 9 เดือน ปี 2549 เป็น 38.7% ในงวด 9 เดือน ปี 2550
ค่าใช้จ่ายในการบริหารของบริษัทในงวด 9 เดือน ปี 2550 อยู่ที่ 985 ล้านบาท เทียบกับ 895 ล้านบาท ในงวด 9 เดือน ปี 2549 (ไม่รวมการกลับรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายเกี่ยวกับหุ้นกู้ที่คาดว่าจะออก ซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานโดยปกติของบริษัท และเกิดขึ้นครั้งเดียว จำนวน 20 ล้านบาทในไตรมาส 2 ปี 2549) หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ซึ่งเพิ่มขึ้น ในอัตราที่ สูงกว่า การเพิ่มขึ้น ของรายได้ จากการเพิ่มขึ้นของ ค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและเงินเดือนและค่าจ้างในไตรมาส 1 ปี 2550 กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม ราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) เพิ่มขึ้นจาก 1,456 ล้านบาท ใน งวด 9 เดือน ปี 2549 เป็น 1,607 ล้านบาทในงวด 9 เดือน ปี 2550 ส่วนอัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA margin) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย จาก 24.6% ในงวด 9 เดือน ปี 2549 เป็น 25.0% ในงวด 9 เดือน ปี 2550
บริษัทมีกำไรสุทธิ 884 ล้านบาทในงวด 9 เดือน ปี 2550 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 จากผลการดำเนินงาน ของโรงพยาบาล จาก 822 ล้านบาท (กำไรสุทธิไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) ในงวด 9 เดือน ปี 2549 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากกำไรสุทธิที่รายงาน 842 ล้านบาท ในงวด 9 เดือน ปี 2549 ดังนั้นอัตรา กำไรสุทธิลดลงเล็กน้อยจาก 13.8% (กำไรสุทธิไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) และ 14.1% (กำไรสุทธิ ที่รายงาน) ในงวด 9 เดือน ปี 2549 เทียบกับ 13.7% ในงวด 9 เดือน ปี 2550
บริษัทมีกําไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานเท่ากับ 0.42 บาทต่อหุ้น ในไตรมาส 3 ปี 2550 เช่นเดียวกั บ ไตรมาส 3 ปี 2549 ขณะที่กำไรต่อหุ้นแบบปรับลดลดลงร้อยละ 3 เป็น 0.35 บาทต่อหุ้นในไตรมาส 3 ปี 2550 จาก 0.36 บาทต่อหุ้นในไตรมาส 3 ปี 2549 สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2550 บริษัทมีกำไรต่อหุ้นขั้น พื้นฐานเท่ากับ 1.21 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 จาก 1.16 บาทต่อหุ้น ในงวด 9 เดือน ปี 2549 เช่นเดียวกัน กำไรต่อหุ้นแบบปรับลดเพิ่มร้อยละ 6 เป็น 1.02 บาทต่อหุ้นในงวด 9 เดือน ปี 2550 จาก 0.97 บาทต่อหุ้นในงวด 9 เดือน ปี 2549
(หน่วย: ล้านบาท)
ไตรมาส 3/ 50 |
ไตรมาส 3/ 49 |
Y-o-Y Growth |
9 เดือน 50 |
9 เดือน 49 |
Growth | |
รายได้จากกิจการโรงพยาบาล |
2,155 |
2,042 |
6% |
6,274 |
5,761 |
9% |
รายได้รวม |
2,222 |
2,131 |
4% |
6,468 |
5,954 |
9% |
กำไรขั้นต้น |
828 |
784 |
6% |
2,426 |
2,186 |
11% |
อัตรากำไรขั้นต้น |
38.4% |
38.4% |
38.7% |
38.0% |
||
กำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่ เกิดขึ้นครั้งเดียว) |
552 |
508 |
8% |
1,607 |
1,456 |
10% |
อัตรากำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA Margin) |
25.0% |
24.3% |
25.0% |
24.6% |
||
กำไรสุทธิ (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) |
306 |
309 |
-1% |
884 |
822 |
8% |
อัตรากำไรสุทธิ (ไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) |
13.8% |
14.5% |
13.7% |
13.8% |
||
กำไรสุทธิ |
306 |
309 |
-1% |
884 |
842 |
5% |
อัตรากำไรสุทธิ |
13.8% |
14.5% |
13.7% |
14.1% |
||
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน |
0.42 |
0.42 |
- |
1.21 |
1.16 |
4% |
กำไรต่อหุ้นแบบปรับลด |
0.35 |
0.36 |
-3% |
1.02 |
0.97 |
5% |
3. งบดุล
ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 บริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียน 1,355 ล้านบาท ลดลงจาก 1,629 ล้าน บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จากการลดลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจาก 854 ล้านบาท ณ วัน ที่ 31 ธันวาคม 2549 เป็ น 441 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 เนื่องจาก ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 บริษัทไม่ได้รวมรายการเงินสดของ BIL ในงบการเงินรวมของบริษัท เงินลงทุนในบริษัท ร่วมเพิ่มขึ้นจาก 465 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เป็น 1,092 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 เงินลงทุน จํานวน 465 ล้านบาทในปี 2549 คือ การบันทึกเงินลงทุน ใน AHI ด้วยวิธีราคาทุน เนื่องจาก ณ ขณะนั้น รายการบัญชีของ BIL ได้รวมอยู่ในงบการเงิน รวมของบริษัท ในขณะที่ เงินลงทุน จำนวน 1,092 ล้านบาท เป็นการบันทึกเงินลงทุนใน BIL ด้วยวิธีราคาทุน จำนวน 1,070 ล้านบาท และเงิน ลงทุนในโกลเบิล แคร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ("จีซีเอส ประเทศไทย") จำนวน 22 ล้านบาท ซึ่งบริษัท ได้เข้าซื้อ จีซีเอส ประเทศไทย ในสัดส่วน 30% ในเดือนกันยายน 2550 เป็นผลให้บริษัทมีสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น เป็น 7,025 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 จาก 6,623 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549หนี้สินรวมของบริษัท ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 เท่ากับ 3,403 ล้านบาท เทียบกับ 2,994 ล้าน บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน บริษัทได้กู้ยืมเงินระยะสั้นเพิ่มอีกเป็นจำนวน 200 ล้านบาท และเบิกเงินกู้ยืมสุทธิ (หักด้วยการจ่ายคืน เงินกู้) จำนวน 104 ล้านบาท เป็นผลให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน (Net debt to equity) เพิ่มขึ้นจาก 0.27 เท่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เป็น 0.44 เท่า ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 อัตราความสามารถชำระ ดอกเบี้ยของบริษัทดีขึ้น เป็น 19.4 เท่าในงวด 9 เดือน ปี 2550 จาก 17.6 เท่าในงวด 9 เดือน ปี 2549
ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท (ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย) เพิ่มขึ้นเป็น 3,622 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 จาก 3,284 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จากกำไรสุทธิ
4
ในงวด 9 เดือน ของปี 2550 จำนวน 884 ล้านบาท หักด้วยเงินปันผลจ่ายจำนวน 621 ล้านบาท และ ดอกเบี้ยจ่ายหุ้นกู้แปลงสภาพจำนวน 13 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมีส่วนของผู้ถือ หุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย 344 ล้านบาท ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยของ BIL ในขณะที่บริษัทไม่มีส่วนของผู้ ถือหุ้นส่วนน้อยของบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 เนื่องจากรายการบัญชีของ BIL ไม่ได้รวมอยู่ใน งบการเงินรวมของบริษัท อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์เฉลี่ยปรับเทียบเต็มปี (Annualized Average ROA) อยู่ที่ 17.3% และอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเฉลี่ยปรับเทียบเต็มปี (Annualized Average ROE) ยังคงสูงอยู่ที่ 32.5% สำหรับงวด 9 เดือน ปี 2550
4. สภาพคล่อง
ในงวด 9 เดือน ของปี 2550 บริษัทมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 981 ล้านบาท เทียบกับ 807 ล้านบาท ในงวด 9 เดือน ของปี 2549 การเพิ่มขึ้นดังกล่าว เนื่องมาจากผลกำไรก่อนค่า เสื่อมราคาที่ดีขึ้นของบริษัท กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมลงทุนเพิ่มขึ้น เป็น 617 ล้านบาทในงวด 9 เดือน ของปี 2550 จาก 331 ล้านบาท ในงวด 9 เดือน ของปี 2549 เนื่องจากการลงทุนเพิ่มใน BIL จำนวน 266 ล้านบาท และการลดลงของเงินฝากสถาบันการเงิน ซึ่งถึงกําหนดจ่ายคืนเกิน กว่า 3 เดือน และนําไปค้ำ ประกัน ตามข้อตกลงของสัญญาเงินกู้ เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินเพิ่มขึ้น จาก 159 ล้านบาทใน งวด 9 เดือน ปี 2549 เป็น 334 ล้านบาทในงวด 9 เดือน ปี 2550 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลจ่าย เมื่อหักด้วยเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดของบริษัทร่วม (BIL) ณ วันที่เปลี่ยนสถานะจากบริษัทย่อยเป็น บริษัทร่วมจำนวน 442 ล้านบาท บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวดลดลงเป็น 441 ล้าน บาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 จาก 861 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2549อัตราส่วนสภาพคล่อง ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 อยู่ที่ 0.70 เท่า เทียบกับ 1.04 เท่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 อยู่ที่ 0.55 เท่า ลดลงจาก 0.88 เท่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เนื่องจากการลดลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 423 ล้านบาท จาก 864 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เป็น 441 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน 2550
5. การเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชี
บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบันทึกบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และกิจการ ที่ควบคุมร่วมกันในงบการเงินเฉพาะกิจการจากวิธีส่วนได้เสียมาเป็นวิธีราคาทุน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เพื่อให้เป็นไปตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชี ฉบับที่ 26/2549 เรื่องมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 44 เรื่อง "งบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย" (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1) โดยบริษัทได้ ปรับปรุงย้อนหลังงบการเงินที่แสดงเปรียบเทียบด้วย ทั้งนี้ เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ ในงบการเงินเฉพาะกิจการนั้น บันทึกด้วยวิธีราคาทุน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบดังนี้ก. กำไรสุทธิในงบการเงินเฉพาะกิจการไม่เท่ากับกำไรสุทธิในงบการเงินรวม
i. ในไตรมาส 3 ปี 2550 งบการเงินเฉพาะกิจการแสดงกำไรสุทธิ 281 ล้านบาท น้อยกว่างบ การเงินรวมที่แสดงกำไรสุทธิ 306 ล้านบาท เป็นจำนวน 25 ล้านบาท และในไตรมาส 3 ปี 2549 งบการเงินเฉพาะกิจการแสดงกำไรสุทธิ 302 ล้านบาท น้อยกว่างบการเงินรวมที่แสดง กำไรสุทธิ 309 ล้านบาท เป็นจำนวน 7 ล้านบาท เนื่องจากงบการเงินเฉพาะกิจการไม่ได้รวม
5
รายการส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียจำนวน 25 ล้านบาทและ 7 ล้านบาทในไตรมาส 3 ปี 2550 และ ไตรมาส 3 ปี 2549 ตามลำดับ
ii. ในงวด 9 เดือนของปี 2550 งบการเงินเฉพาะกิจการแสดงกำไรสุทธิ 841 ล้านบาท น้อยกว่า งบการเงินรวมที่แสดงกำไรสุทธิ 884 ล้านบาท เป็นจำนวน 43 ล้านบาท และในงวด 9 เดือน ของปี 2549 งบการเงินเฉพาะกิจการแสดงกำไรสุทธิ 792 ล้านบาท ต่ำกว่างบการเงินรวมที่ แสดงกำไรสุทธิ 842 ล้านบาท เป็นจำนวน 50 ล้านบาท เนื่องจากงบการเงินเฉพาะกิจการ ไม่ได้รวมรายการส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียจำนวน 43 ล้านบาท และ 50 ล้านบาทในงวด 9 เดือนของปี 2550 และ งวด 9 เดือนของปี 2549 ตามลำดับ
ข. ผลกระทบต่องบดุลของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีดังต่อไปนี้
เงินลงทุนในบริษัทย่อยลดลง (สุทธิจากส่วนเกินมูลค่าเงินลงทุน ที่สูงกว่ามูลค่าตามบัญชีของบริษัทย่อย) | 99 |
ล้านบาท |
การแปลงค่างบการเงินลดลง | 13 |
ล้านบาท |
ส่วนเกินทุนจากการที่บริษัทย่อยขายหุ้นให้บุคคลภายนอกเกินมูลค่าที่ตราไว้ลดลง | 156 |
ล้านบาท |
กำไรสะสมเพิ่มขึ้น | 70 |
ล้านบาท |
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวส่งผลต่อการแสดงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมในงบการเงินเฉพาะกิจการเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อการจัดทำงบ การเงินรวมและปัจจัยพื้นฐานในการทำธุรกิจของบริษัทแต่อย่างใด
จึงเรียนมาเพื่อทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นางลินดา ลีสหะปัญญา)
กรรมการผู้จัดการ
5
Attachments