ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ
เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกันของ
บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
ที่ อพ. 016 / 2550
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550
เรื่อง ความเห็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกันของ
บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
เรียน คณะกรรมการและผู้ถือหุ้น
บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัท"
หรือ "BH") ครั้งที่ 1//2550 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2550ได้มีมติอนุมัติการสละสิทธิของบริษัท
ในการจองซื้อหุ้นสามัญที่จะออกใหม่ในอนาคตของบริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ("BIL")
จำนวนไม่เกิน 3,714,283 หุ้น ในราคาหุ้นละ 153.52 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 570,216,726.16
บาท เพื่อให้ Asia Financial Holdings Limited หรือ บริษัทย่อยของ Asia Financial
Holdings Limited ("AFH") ได้จองซื้อหุ้นดังกล่าว ("ธุรกรรม") โดยมีเงื่อนไขว่า 1)
บริษัท AFH และผู้ถือหุ้นของ BILได้รับอนุมัติหรือได้รับอนุญาตในทุกเรื่องตามกฎระเบียบข้อบังคับสำหรับการ
ทำธุรกรรม กล่าวคือ ทั้ง BH BIL AFH และผู้ถือหุ้นเดิมของ BILต้องดำเนินการเพื่อให้ได้
รับอนุญาตจากองค์กรของตน (Corporate Approval Process) ก่อนเข้าดำเนินการทำธุรกรรมนี้ เช่น
การได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ การได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น การได้รับอนุญาตจาก
หน่วยงานที่กำกับดูแล และ 2) บริษัท AFH และผู้ถือหุ้นของ BILได้ดำเนินการแก้ไขสัญญา
ต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับธุรกรรม ซึ่งได้แก่ สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholders agreement)
และ สัญญาซื้อหุ้น (Share Subscription Agreement) ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
การที่ AFH จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใน BIL ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามได้ภายใน 90 วัน
นับจากวันที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทให้เข้าทำธุรกรรม
การสละสิทธิในการจองซื้อหุ้นดังกล่าวถือเป็นการทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันเนื่องจาก นาย
โรบิน ยัว ฮิง ชาน (Mr. Robin Yua Hing Chan) ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ
AFH เป็นพี่น้อง นายชาตรี โสภณพนิช และนายชัย โสภณพนิช ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท
การทำรายการดังกล่าวเมื่อคำนวณขนาดของรายการ ตามประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทยมีขนาดของรายการมากกว่า 20 ล้านบาทหรือมากกว่าร้อยละ 3ของสินทรัพย์ที่
มีตัวตนสุทธิของบริษัทจึงจัดเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน ที่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท
โดยในหนังสือนัดประชุมที่ส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นกำหนดให้บริษัทต้องนำส่งความ เห็นของที่ปรึกษาทางการ
เงินอิสระเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ความสมเหตุสมผลและประโยชน์ของรายการต่อบริษัทจดทะเบียน
(2) ความเป็นธรรมของราคา และเงื่อนไขของรายการ (3) ผู้ถือหุ้นควรลงมติเห็นด้วยหรือไม่กับรายการ
พร้อมเหตุผลประกอบ ทั้งนี้ บริษัทได้แต่งตั้งบริษัท แอดไวเซอรี่ พลัส จำกัด
เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระในการทำหน้าที่ให้ความเห็นต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท
ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระขอสรุปความเห็นต่อการเข้าทำรายการเสนอต่อคณะกรรมการและผู้ถือ
หุ้นเพื่อประกอบการพิจารณาลงมติ ซึ่งที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นของบริษัทควรลงมติ
อนุมัติการทำธุรกรรมในครั้งนี้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ลักษณะและรายละเอียดของรายการที่เกี่ยวโยงกัน
1.1 ประเภทและขนาดของรายการ
เดิมบริษัทถือหุ้นใน BIL จำนวน 6,000,000 หุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน
และเรียกชำระแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2549 คณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติให้ BIL เพิ่มทุนจด
ทะเบียนเป็น 19,764,701 หุ้น โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 13,764,701 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
100 บาท โดยการเพิ่มทุนดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ครั้ง ดังนี้
- การเพิ่มทุนครั้งที่ 1
BIL ได้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 5,764,701 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 49 ของหุ้นสามัญ
ทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน เพื่อเสนอขายให้แก่นักลงทุนเฉพาะเจาะจง
จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1) V-Sciences Investment Pte Ltd. ("V-Sciences")
2) Istithmar PJSC ("Istithmar") และ 3) ธนาคารกรุงเทพ ("BBL")
ในราคา หุ้นละ 153.52 บาท รวมเป็นเงิน จำนวน 884.99 ล้านบาทโดยบริษัท
ได้สละสิทธิการจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ BIL ซึ่งทำให้บริษัทคงเหลือสัดส่วนการถือหุ้นใน BIL
ร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนปัจจุบัน BIL ได้เรียกชำระเงินค่าหุ้นจำนวน 78.52 บาท
ต่อหุ้นไปแล้ว แบ่งออกเป็นเงินชำระค่าหุ้น จำนวน 25.00 บาทต่อหุ้น (เท่ากับขั้นต่ำที่
กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระ เงินค่าหุ้นอย่าง น้อยที่สุดร้อยละ 25 ของมูลค่าที่ตราไว้)
และส่วนเกินมูลค่าหุ้นจำนวน 53.52 บาทต่อหุ้น ส่วนการเรียกชำระเงินค่าหุ้นที่เหลือจำนวน
75.00 บาทต่อหุ้น จะดำเนินการเมื่อ BIL มีความต้องการ เงินลงทุนในโครงการต่างๆ
ปัจจุบัน BIL มีทุนจดทะเบียนจำนวน 1,176,470,100 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน
11,764,701 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100.00 บาท และมีทุนชำระแล้วจำนวน 744,117,525
บาท
- การเพิ่มทุนครั้งที่ 2
BIL จะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 8,000,000 หุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ BIL ตามสัด
ส่วนการถือหุ้น รวมเป็นมูลค่าการเพิ่มทุน 800,000,000 บาท
อย่างไรก็ดี เนื่องจากต่อมาบริษัทได้ตัดสินใจที่จะสรรหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์อีกรายเข้ามาเป็น
ผู้ถือหุ้นใน BIL เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับ BIL จึงจำเป็นต้องมีการ เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
การเพิ่มทุนครั้งที่ 2 เพื่อให้พันธมิตรเชิงกลยุทธ์รายใหม่สามารถเข้ามาลงทุนใน BIL
ในสัดส่วนและเงื่อนไขเดียวกันกับพันธมิตรรายอื่นๆ ในปัจจุบัน ในการนี้ การเพิ่มทุนในอนาคตของ
BIL ในจำนวนไม่เกิน 7,282,908 หุ้น BIL จะเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ BIL
ตามสัดส่วนการถือหุ้น ในราคาหุ้นละ 153.52 บาท รวม เป็นมูลค่าการเพิ่มทุน
1,118,072,036.16 บาท เพื่อรองรับการลงทุนที่มีขนาดใหญ่ในอนาคต โดยบริษัทจะสละ
สิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท เพื่อให้ AFH
หรือบริษัทย่อยของ AFH ได้จองซื้อหุ้นดังกล่าว ดังนั้น หาก BILมีความต้องการใช้เงินลงทุน
จำนวนมากในระยะเวลาที่จำกัด BIL ก็สามารถเรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้นได้ทันที
ตามโครงสร้างการเพิ่มทุนใหม่ โดยไม่ถูกจำกัดด้วยข้อจำกัดทางการเงินของบริษัท ซึ่งหากบริษัท
จะรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใน BIL ที่ร้อยละ 51 โดยพยายามที่จะหาเงินทุนให้ได้ตามความต้องการ
เงินทุนของ BIL ก็จะใช้เวลานาน ซึ่งอาจทำให้ BIL เสียโอกาสทางธุรกิจได้ (Business
Opportunity) ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2550
จึงได้มีมติอนุมัติให้บริษัทสละสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ในอนาคตของ BIL
ในส่วนของบริษัทในจำนวนไม่เกิน 3,714,283 หุ้น (7,828,908 * 51.00% = 3,714,283)
ในราคาหุ้นละ 153.52 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 570,216,726.16 บาท เพื่อให้ AFH
หรือบริษัทย่อยของ AFH ได้จองซื้อหุ้นดังกล่าว ("ธุรกรรม")
ธุรกรรมดังกล่าวเมื่อคำนวณขนาดของรายการแล้วเข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกันตาม
ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียน
ในรายการที่เกี่ยวโยงกัน พ.ศ. 2546 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2546 และที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
โดยเป็รายการที่เกี่ยวโยงกันประเภทรายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการที่มีขนาดของรายการมากกว่าร้อย
ละ 3 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่มีตัวตนตามที่ประกาศกำหนด ซึ่งบริษัทมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานและเปิดเผย
รายการต่อตลาดหลักทรัพย์ และต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่ต่ำ
กว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยไม่นับ
ส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียในการทำรายการ
1.2 มูลค่าและสิ่งตอบแทน
ในการทำธุรกรรมครั้งนี้ BIL จะได้รับชำระค่าหุ้นสามัญเมื่อมีการจองซื้อหุ้นจำนวนไม่เกิน
3,714,283 หุ้น ในราคาหุ้นละ 153.52 บาทต่อหุ้น คิดเป็นจำนวนเงิน 570,216,726.16 บาท
1.3 บุคคลที่เกี่ยวโยงกันและผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าว
ผู้ซื้อ : Asia Financial Holdings Limited หรือบริษัทย่อยของ Asia Financial
Holdings Limited ("AFH?)
ผู้ขาย : บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ซึ่งบริษัท
ถือหุ้นร้อยละ 51.00 ของทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว)
นายโรบิน ยัว ฮิง ชาน (Mr. Robin Yua Hing Chan)
ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ AFH เป็นพี่น้องกับ นายชาตรี โสภณพนิช และนายชัย
โสภณพนิช ซึ่งบุคคลทั้งสองเป็นกรรมการของบริษัท
ข้อมูลของ Asia Financial Holdings Limited
AFH เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านการลงทุนในบริษัทอื่นเป็นหลัก (Holding Company) ก่อตั้งขึ้นในปี
2543 และเข้าจดทะเบียนใน Hong Kong Stock Exchange ในปีเดียวกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2548 AFH มีการลงทุนในบริษัทย่อยทั้งทางตรงและทางอ้อมรวม 14 บริษัท
ตารางแสดงรายละเอียดบริษัทย่อยของ AFH
บริษัทย่อย สถานที่จด สัดส่วนการถือหุ้น ทุนจดทะเบียน ลักษณะการประกอบธุรกิจ
ทะเบียนก่อตั้ง (ร้อยละ) (ดอลล่าร์ฮ่องกง)
บริษัท
1 Asia Insurance
Company Limitedช ฮ่องกง 100.00 800,000,000 ธุรกิจประกันชีวิต
2 Asia Commercial
Bank Limited ฮ่องกง 100.00 810,000,000 ธนาคารพาณิชย์
3 Asia Investment หมู่เกาะบริติช 100.00 10,000,000 การลงทุนในบริษัทอื่น
Sercice Limitted เวอร์จิ้น (Investment Holding)
4 AFH Investment (BVI) หมู่เกาะบริติช
Limited เวอร์จิ้น 100.00 1,000,000 การลงทุนในบริษัทอื่น
ดอลล่าร์สหรัฐ (Investment Holding)
5 Asia Insurance
(Finance) Limited ฮ่องกง 100.00 * 25,000,000 ธุรกิจให้สินเชื่อ
(Mortgage loan financing)
6 Chamberlain
Investment Limited สาธารณรัฐไลบีเรีย 100.00 * 100 ดอลล่าร์สหรัฐ การลงทุนในบริษัทอื่น
(Investment Holding)
7 Progressive Investment ธุรกิจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
Company Limited ฮ่องกง 100.00 * 10,000,000 (PropertyInvestment)
8 Bedales Investment
Limited สาธารณรัฐไลบีเรีย 100.00 *3,000,100 ดอลล่าร์สหรัฐ **การลงทุนในบริษัทอื่น
(Investment Holding)
9 Asia Commercial Bank
(Nominees) Limited ฮ่องกง 100.00 * 100,000 ธุรกิจให้บริการนอมินี
(Provision of nominee services)
10 Asia Commercial Bank
(Trustee) Limited ฮ่องกง 100.00 * 10,000,000 ธุรกิจให้บริการทรัสตี
(Provision of trustee services)
11 Hocomban Investments
Limited ฮ่องกง 100.00 * 5,000,000ธุรกิจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
(Property Investment)
12 Asia Investment Services
(HK) Limited ฮ่องกง 100.00 * 10,000 การลงทุนในบริษัทอื่น
(Investment Holding)
13Asia Financial (Securities)
Limited ฮ่องกง 100.00 * 15,000,000 ธุรกิจหลักทรัพย์
(Securities brokerage)
14Asia Insurance
(Investments) Limited ฮ่องกง 57.00 * 53,000,000 การลงทุนในบริษัทอื่น
(Investment Holding)
หมายเหตุ : *เป็นการถือหุ้นทางอ้อม
** แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญ 100 ดอลล่าร์สหรัฐและหุ้นบุริมสิทธิ 3,000,000
ดอลล่าร์สหรัฐ
ที่มา : รายงานประจำปี 2548 ของ AFH จาก www.asia-financial.com
ปัจจุบัน บริษัทย่อยที่เป็นแกนของ AFH คือ Asia Insurance Company Limited ("AI")
ซึ่งเป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจประกันชีวิต 1 ใน 5 อันดับแรกของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong
Special Administrative Region: HKSAR) ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ AI ได้แก่
กลุ่มลูกค้าประเทศจีน และ HKSAR
1.4 ลักษณะของหลักทรัพย์
บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ("BIL") (เดิมชื่อ บริษัท บี.เอช. อเวนิว
จำกัด) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2533 และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท บำรุงราษฎร์
อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2547 โดยมีบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วนร้อยละ
99.99 ของทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว ต่อมา BILได้เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม
และบริษัทได้ สละสิทธิการซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว เพื่อให้ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) V-Sciences
และ Istithmar ซึ่งเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (strategic Partners) เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใน BIL
ทำให้ปัจจุบัน บริษัทถือหุ้นใน BIL ในสัดส่วนร้อยละ 51.00 ของทุนจดทะเบียน
BIL มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) โดย
จะลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในต่างประเทศร่วมกับบริษัทท้องถิ่นและรับจ้างบริหารจัดการโรง
พยาบาลในต่างประเทศ ปัจจุบัน BIL ได้ลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจำนวน 5 บริษัท ได้แก่ บำรุง
ราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิลิปปินส์ อิงค์ ("BIPI") บริษัท เนปจูน สตรอยก้า โฮลดิ้ง อิงค์
("Neptune") Bumrungrad International Management (Hong Kong) Limited
("BIM") Bumrungrad International Holdings (Hong Kong) Limited ("BIH")
และ Bumrungrad Hospital Dubai LLC. ("BHD") ซึ่ง Neptune และ BIPI
ได้ร่วมกันลงทุนใน Asian Hospital Inc. ("AHI") ในสัดส่วนร้อยละ 43.25 หรือคิดเป็น
สัดส่วนที่ BIL ถือใน AHI โดยตรงเท่ากับร้อยละ 35.18 ของทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วของ AHI
โดย AHI เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนภายใต้ชื่อ "Asian Hospital and Medical
Center" ในประเทศฟิลิปปินส์ และ BHD เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนภายใต้ชื่อ
"Bumrungrad Hospital Dubai" ในรัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ซึ่งอยู่ในระหว่าง
ก่อสร้าง
รายละเอียดบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของ BIL
บริษัทย่อยของ BIL สัดส่วนการถือหุ้น ลักษณะการประกอบธุรกิจ สถานะปัจจุบัน
(ร้อยละ)
1 Neptune 39.9 เพื่อลงทุนในบริษัทอื่น ลงทุนใน AHIในสัดส่วนร้อยละ
(Investment Company) 13.41 ทำให้ Neptune และ
BIPI ถือหุ้นใน AHI รวมกัน
ในสัดส่วนร้อยละ 43.25
2 BIPI 99.9 เพื่อลงทุนในบริษัทอื่น ลงทุนใน AHIในสัดส่วนร้อยละ
(Investment Company) 29.83 ทำให้ Neptune และ
BIPI ถือหุ้นใน AHI รวมกัน
ในสัดส่วนร้อยละ 43.25
3 BIM 100.0เพื่อบริหารจัดการโรงพยาบาล ยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ
(Management Services)
4 BIH 100.0 เพื่อลงทุนในบริษัทอื่น อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
(Investment Company) โรงพยาบาลและปัจจุบันได้
หยุดการก่อสร้างชั่วคราว
5 BHD 49.0เพื่อประกอบธุรกิจโรงพยาบาล ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรง
เอกชน พยาบาลที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐ
อาหรับเอมิเรสต์ และคาดว่า
จะเปิดดำเนินการได้ภายในปี 2552
โครงสร้างการถือหุ้นของ BIL ณ วันที่ 1 กันยายน 2549
โครงสร้างการถือหุ้น ในปัจจุบัน
โครงสร้างการถือหุ้น ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
หมายเหตุ : V-Sciences เป็นบริษัทย่อยของบริษัทในกลุ่ม Temasek Holding
Istithmar เป็นบริษัทย่อยที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยลงทุนของ Nakheel
Corpration ซึ่งเป็นบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่โดยรัฐบาลของดูไบ
การลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลของ BIL และบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของ BIL
1) การลงทุนใน AHI ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลในนาม Asian Hospital and Medical
Center ในประเทศฟิลลิปปินส์
AHI ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 และเริ่มเปิดดำเนินการในเดือนมีนาคมปี 2545 โดยตั้งอยู่ที่เลขที่ 2205
Civic Drive, Filinvest Corporate City, Alabang, Muntinlupa ประเทศฟิลลิปปินส์
AHI เป็นโรงพยาบาลที่มีขนาด 258 เตียง ตั้งอยู่บนพื้นที่ 17,250 ตารางเมตร โดยเป็นโรงพยาบาล
เอกชนขนาดใหญ่แห่งแรกที่ตั้งขึ้นในบริเวณกรุงมะนิลาและปริมณฑล (Greater Manila) AHI
เป็นโรงพยาบาลที่มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและ ให้บริการโดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Program) ปัจจุบัน AHI มีแพทย์ประมาณ
1,104 คน
นอกจากคุณภาพและความทันสมัย ของเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ความสามารถและ
ความเชี่ยวชาญของคณะแพทย์และบุคลากรของ AHI แล้ว AHI ยังมีข้อได้เปรียบโรงพยาบาลคู่แข่ง
ในด้านของทำเลที่ตั้ง เนื่องจากเมือง Muntilupa ที่ AHI ตั้ง อยู่ทางตอนใต้ของกรุงมะนิลาและอยู่
ห่างจากเขต Makati ซึ่งเป็นย่านธุรกิจสำคัญเพียง 13 กิโลเมตร และทำเลที่ตั้งของ AHI ยังติดกับทาง
ด่วน South Luzon ทำให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อกับเขตสำคัญๆ คือ เขต Makati และจังหวัดในเขต
อุตสาหกรรมใหม่ใกล้เคียง ซึ่งได้แก่ จังหวัด Cavite จังหวัด Laguna จังหวัด Rizal และจังหวัด
Calabarzon จึงทำให้การเดินทางมาโรงพยาบาลดังกล่าวได้สะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้พื้นที่ตอน
ใต้ของกรุงมะนิลายังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงที่สุดในกรุงมะนิลา ซึ่งหมาย
ความว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ AHI จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ AHI ได้แบ่งกลุ่มลูกค้าเป้า
หมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ลูกค้าโรคทั่วไป และลูกค้าโรคเฉพาะทาง ดังนี้
1) ลูกค้าโรคทั่วไป
AHI วางกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในการรักษาโรคทั่วไปครอบคลุมประชากรที่อาศัยอยู่ในเขต
Muntinlupa, เขต Las Pinas, เขต Paranaque, เขต Sucat, พื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัด
Cavite และพื้นที่ตอนเหนือของเขตจังหวัด Laguna เนื่องจากการรักษาโรคทั่วไป ผู้ป่วย
ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อไปรักษาพยาบาล จึงทำให้มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอยู่ในวง
จำกัดรอบๆโรงพยาบาล ซึ่งคู่แข่งของ AHI ในการรักษาโรคทั่วไปในพื้นที่เป้าหมายดัง
กล่าวมีโรงพยาบาล Perpetual Help Medical Center เพียงแห่งเดียว ซึ่งแม้ว่าโรงพยาบาล
Perpetual Help Medical Center จะมีอัตราการใช้เตียงผู้ป่วย (Occupancy rate) สูงกว่า
AHI (AHI มีอัตราการใช้เตียงผู้ป่วยประมาณร้อยละ 60) ก็ตามแต่เมื่อเปรียบเทียบในเรื่อง
ของสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในโรงพยาบาลแล้วจะพบว่า AHI มีคุณภาพและมาตร
ฐานของสิ่งอำนวยความสะดวกเหนือกว่าโรงพยาบาล Perputual Help Medical Center
2) ลูกค้าโรคเฉพาะทาง
AHI วางกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในการรักษาโรคเฉพาะทางครอบคลุมประชากรที่อาศัยอยู่ใน
พื้นที่ทั้งหมดของกรุงมะนิลาและปริมณฑล ซึ่งคู่แข่งของโรงพยาบาล AHI ในการรักษา
โรคเฉพาะทางในกรุงมะนิลาและปริมณฑล ได้แก่ St. Luke's Hospital, Makati
Medical Center, Medical City General Hospital, Chinese General Hospital
และ Manila Doctor's Hospital ซึ่งโรงพยาบาลดังกล่าวมีอัตราการใช้เตียงผู้ป่วยสูงกว่าร้อย
ละ 80 และส่วนใหญ่มีผู้ป่วยที่รอจะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลต่างๆดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโรงพยาบาลต่างๆดังกล่าวจะได้รับการยอมรับในการรักษาพยาบาล
เป็นอย่างดี แต่สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อยู่ในสภาพเก่าและไม่ได้รับการบำรุงรักษาที่
ดี AHI ได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงพยาบาลเป็น
อย่างมาก โดยจัดให้มีการบำรุงรักษาที่ดีอยู่เสมอ ประกอบกับ AHI เป็นโรงพยาบาลที่
เริ่มเปิดดำเนินการมาได้เพียง 4 ปี เครื่องมือ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จึง
ยังมีความทันสมัยอยู่ ซึ่ง AHI ใช้เป็นจุดเด่นในการแข่งขันและสามารถดึงดูดให้ผู้ป่วยมา
ใช้บริการของ AHI มากขึ้น
2) การลงทุนใน BHD เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์
ในปี 2549 BIL ลงทุนร่วมกับ Istithmar เพื่อจัดตั้ง BHD โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบ
ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ชื่อ Bumrungrad Hospital Dubai ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองดูไบ ประเทศ
สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์โดยมีมูลค่าเงินลงทุนประมาณ 388 ล้านบาท โรงพยาบาลดังกล่าวเป็นโรง
พยาบาลขนาด 125 ? 150 เตียง มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ ชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐ
อาหรับเอมิเรสต์และประชาชนท้องถิ่นที่มีรายได้สูง ซึ่งคาดว่าการก่อสร้างโรงพยาบาลจะแล้วเสร็จ
ภายในปี 2552
3) การลงทุนของ BIH ในประเทศจีน
ประมาณต้นปี 2549 BIH ได้เข้าซื้อ option ที่จะลงทุนในโรงพยาบาลที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
แห่งหนึ่งในประเทศจีน ซึ่งเมื่อใช้สิทธิ จะทำให้ BIH มีการถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 26.9 ของโรง
พยาบาล คิดเป็นมูลค่าประมาณ 35.03 ล้านบาท แต่เนื่องจากผู้ถือหุ้นของโรงพยาบาลบางรายไม่
สามารถหาเงินทุนมาชำระเงินค่าหุ้นได้ จึงทำให้การก่อสร้างไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้
ปัจจุบัน โรงพยาบาลได้หยุดการก่อสร้างชั่วคราว เพื่อรอเงินทุนจากผู้ถือหุ้นที่ยังไม่ได้ชำระ
เงินค่าหุ้น รวมถึงการดำเนินการหาผู้ร่วมทุนรายใหม่ที่มีศักยภาพในด้านเงินทุนเพื่อให้โครงการ
สามารถดำเนินการต่อไปได้
1.5 ภาวะอุตสาหกรรม
ข้อมูลของประเทศฟิลลิปปินส์
ข้อมูลเบื้องต้น
ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) ประกอบด้วยหมู่เกาะ
มากกว่า 7,000 เกาะ มีพื้นที่รวมกันทั้งหมดประมาณ 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5
ของประเทศไทย) มีประชากรประมาณ 85.24 ล้านคน (ปี 2549) มีเมืองหลวง คือ กรุงมะนิลา
ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ Luzon
กรุงมะนิลา (Metro Manila) หมายถึงเขตมะนิลาและเขตรอบมะนิลา มีพื้นที่ประมาณ 636
ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 10 ล้านคน โดยมีเขตที่ประกอบกันขึ้นเป็น กรุงมะนิลา ได้แก่
Quezon City, Manila, Caloocan City, Pasig City, Valenzuela City, Taguig
City, Las Pinas City, Makati City, Marikima City, Muntipula City, Pasay City,
Malabon City, Mandaluyong City, Novats, Sun Juan และ
Pateros
แผนที่กรุงมะนิลาและปริมณฑล
กรุงมะนิลาและปริมณฑล (Greater Manila) หมายถึง กรุงมะนิลาและจังหวัดโดยรอบอีก 4 จังหวัด
ซึ่งได้แก่
1 จังหวัด Balacan อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงมะนิลา มีพื้นที่ประมาณ 790
ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.9 ล้านคน
2 จังหวัด Rizal อยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงมะนิลา มีพื้นที่ประมาณ 600 ตารางกิโลเมตร
มีประชากรประมาณ 1.7 ล้านคน
3 จังหวัด Laguna ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงมะนิลา มีพื้นที่ประมาณ 360 ตาราง
กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.3 ล้านคน
4 จังหวัด Cavite ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงมะนิลา มีพื้นที่ประมาณ 610 ตารางกิโลเมตร
มีประชากรประมาณ 1.9 ล้านคน
ข้อมูลเศรษฐกิจ
เกษตรกรรมเป็นอาชีพดั้งเดิมของประชากรในประเทศฟิลลิปปินส์ และปัจจุบันประชากรส่วน
ใหญ่ก็ยังคงประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ โดยสินค้าเกษตรกรรมที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย กล้วย
มะพร้าว มะม่วง สับปะรด ไข่ เนื้อหมู และเนื้อวัว เป็นต้น แต่หากพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมใน
ประเทศ (GDP) จะพบว่ารายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากภาคการบริการ รองลงมา คือ ภาคอุตสาห
กรรม ซึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียม อุตสาหกรรมเคมี อุตสาห
กรรมยา อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมการแปร
รูปอาหาร
ตารางแสดงผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของประเทศฟิลิปปินส์
(หน่วย : พันล้านเปโซ) 2546 2547 2548 2549 (ม.ค.-ก.ย.)
มูลค่า ร้อยละ มูลค่า ร้อยละ มูลค่า ร้อยละ มูลค่า ร้อยละ
ภาคเกษตรกรรม 631 14.70 734 15.21 777 14.45 592 13.78
ภาคอุตสาหกรรม 1,373 31.98 1,538 31.87 1,754 32.61 1,380 32.12
ภาคการบริการ 2,289 53.32 2,554 52.82 2,848 52.95 2,325 54.10
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
4,293 100.00 4,826 100.00 5,379 100.00 4,297 100.00
ที่มา : National Statistical Coordination Board (www.nscb.gov.ph)
ภาวะอุตสาหกรรมโรงพยาบาลในประเทศฟิลิปปินส์
โรงพยาบาลในประเทศฟิลลิปปินส์มีทั้งโรงพยาบาลของรัฐบาลและโรงพยาบาลของเอกชน
ซึ่งส่วนใหญ่โรงพยาบาลของเอกชนจะมีมาตรฐานสูงกว่าโรงพยาบาลของรัฐบาล นอกจากนี้โรงพยาบาล
ของเอกชนก็มีมาตรฐานการรักษาแตกต่างกันระหว่างโรงพยาบาลในกรุงมะนิลาและโรงพยาบาลที่อยู่
นอกกรุงมะนิลา โดยโรงพยาบาลในกรุงมะนิลาหลายแห่งมีคุณภาพและมาตรฐานเทียบเท่ากันกับโรง
พยาบาลในประเทศตะวันตก
แม้ว่าโรงพยาบาลบางแห่งในกรุงมะนิลาจะได้มาตรฐานเทียบเท่ากับโรงพยาบาลในประเทศ
ตะวันตกก็ตาม แต่จากการศึกษาปริมาณจำนวนเตียงผู้ป่วยต่อประชากรของแต่ละประเทศในภูมิภาคใกล้
เคียงจะพบว่าประเทศฟิลลิปปินส์มีอัตราส่วนของเตียงผู้ป่วยเท่ากับ 1.29 ต่อประชากร 1,000 คน ซึ่งหาก
เปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย สิงคโปร์ และมาเลเซีย
จะพบว่าอัตราส่วนของเตียงผู้ป่วยของประเทศฟิลิปปินส์ มีค่าต่ำกว่าประเทศอื่นค่อนข้างมาก ดังนั้นทำให้คาด
ว่าโรงพยาบาลและสถานพยาบาลในประเทศฟิลลิปปินส์มีเตียงผู้ป่วยไม่เพียงพอต่อความต้องการขั้นต่ำ
ของประชากรที่อาศัยอยู่มาก
ตารางแสดงอัตราส่วนเตียงผู้ป่วยต่อประชากร 1,000 คนของประเทศฟิลลิปปินส์เปรียบเทียบกับประเทศ
ในกลุ่มอาเซียน
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย
จำนวนประชากร
(ล้านคน) * 26.13 85.24 4.35 64.70
จำนวนเตียงในโรงพยาบาล
(หมื่นเตียง) ** 19 11 28 22
อัตราส่วนเตียงผู้ป่วย
ต่อประชากร 1,000 คน 7.27 1.29 64.37 3.40
ที่มา : Basic Statistic 2006, Asian Development Bank (www.adb.org)
** World Health Statistics 2006, World Health Organization (www.who.int)
การลงทุนในโรงพยาบาลของ BIL ในรัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
บริษัทได้ร่วมทุนในโครงการบริหารโรงพยาบาลในรัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่ง
โรงพยาบาลดังกล่าวเป็นโรงพยาบาลขนาด 125 ? 150 เตียง ตั้งอยู่บนถนน Sheikh Zayed Road
มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายครอบคลุมตั้งแต่ถนน Satwa/ Trade Centre Road ถึง หมู่บ้าน Ali Village
ซึ่งเป็นเขตที่ประชากรร่ำรวยที่สุดและมีอัตราการขยายตัวสูงที่สุดในรัฐดูไบ กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
จะเป็นกลุ่มชาวต่างชาติและประชากรสัญชาติเอมิเรสต์ที่มีรายได้มากกว่า AED 8,000 ต่อเดือน
โดยคาดว่าโครงการโรงพยาบาลดังกล่าวจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2551
การแข่งขัน
คู่แข่งที่สำคัญของโครงการโรงพยาบาลดังกล่าว ได้แก่ โรงพยาบาล Welcare Hospital
และโรงพยาบาล American Hospital โดย American Hospital
เป็นโรงพยาบาลชั้นนำของรัฐดูไบ มีขนาด 120เตียง และมีชื่อเสียงในการให้บริการ
และสิ่งอำนวยความสะดวก นอกจากนี้ American Hospitalยังเป็นโรงพยาบาลแห่งแรก
ในตะวันออกกลาง ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก JCIA (Joint Commission International
Accreditation) สำหรับโรงพยาบาล Welcare Hospital เป็นโรงพยาบาลขนาด 100 เตียง
โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้บริการการแพทย์แก่ชาวอินเดีย ที่ทำงานอยู่ในรัฐดูไบ นอกจากนี้ยังมี
โรงพยาบาลขนาดเล็กอีกจำนวนหนึ่งที่อาจ เป็นคู่แข่งของโครงการ โรงพยาบาลของ BIL แต่อย่างไรก็
ตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของโรงพยาบาลเหล่านั้นเป็นกลุ่มคนชั้นกลางซึ่ง เป็นคนละกลุ่มกับของโครงการ
โรงพยาบาลของ BIL
ภาวะอุตสาหกรรม
ข้อมูลทั่วไปของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และรัฐดูไบ
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ("ยูเออี") เป็นสหพันธรัฐ ประกอบด้วยรัฐอาหรับ 7 รัฐ ได้แก่ รัฐอาบู
ดาบี (Abu Dhabi) รัฐดูไบ (Dubai) รัฐ Sharjah รัฐ Ras-Al-Khamiah รัฐ Umm Al-
Qaiwain รัฐ Ajman และรัฐ Fujairah ยูเออีได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 2
ธันวาคม 2521 มีพื้นที่ประมาณ 82,880 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 2.5 ล้านคน
โดยประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 75 - 80 เป็นชาวต่างชาติที่ทำงานอยู่ในยูเออี มีเมืองหลวง คือ
เมืองอาบูดาบี ในรัฐอาบูดาบี โดยรัฐอาบูดาบีเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีประชากรมากที่สุด
และมีอิทธิพลทางการเมืองมากที่สุด เพราะเป็นรัฐที่ผลิตน้ำมันที่สำคัญที่สุดของยูเออี รัฐดูไบเป็นรัฐ
ที่มีความสำคัญรองลงมา ในฐานะที่เป็นเมืองเศรษฐกิจและเมืองท่าที่สำคัญ โดยรัฐดูไบมีพื้นที่ประมาณ
3,885 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 1.2 ล้านคน
รายได้หลักของยูเออีมาจากธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ อย่างไรก็ตามจากการพัฒนา
ประเทศในช่วงที่ผ่านมายูเออีสามารถเพิ่มรายได้ที่มาจากภาคเศรษฐกิจอื่นที่ไม่ใช้น้ำมันอย่างรวดเร็ว เช่น
การท่องเที่ยว การอุตสาหกรรม การก่อสร้าง การเงินและการธนาคาร โดยมีรัฐดูไบเป็นผู้นำในการ
พัฒนาภาคเศรษฐกิจดังกล่าว โครงสร้างรายได้ของรัฐดูไบมีความแตกต่างจากโครงสร้างรายได้
ของรัฐอื่นๆ เนื่องจากรัฐดูไบเป็นเขตการค้าเสรีและเมืองท่าที่สำคัญ ในการเชื่อมต่อระหว่าง
ตะวันออกกลางกับทวีปแอฟริกาและทวีปยุโรป โครงสร้างรายได้หลักของรัฐดูไบจึงมาจากการส่งออกต่อ
(re-export) และการท่องเที่ยว โดยมีรายได้จากธุรกิจน้ำมันเพียงเล็กน้อย
ภาวะอุตสาหกรรมโรงพยาบาลในรัฐดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โรงพยาบาลของรัฐบาลในรัฐดูไบให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายกับประชากรสัญชาติเอมิเรตส์
และคิดเพียงค่าใช้จ่ายขั้นต่ำกับชาวต่างชาติ ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนจะคิดค่าบริการโดยตรงกับผู้ป่วย
และบริษัทประกันภัยในกรณีที่ผู้ป่วยทำประกันสุขภาพจากทั้งประชากรสัญชาติเอมิเรตส์และชาวต่างชาติ
รัฐบาลของรัฐดูไบประสบปัญหาต้นทุนการให้บริการการแพทย์ของโรงพยาบาลของรัฐบาล
เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่รัฐบาลก็ต้องรักษาคุณภาพของการให้บริการให้คงเดิม ดังนั้นจึงมีนโยบายที่จะให้โรง
พยาบาลเอกชนเข้ามามีบทบาทในการให้บริการทางการแพทย์มากขึ้น จึงกำหนดให้ชาวต่างชาติทุกคนที่
ทำงานในรัฐดูไบต้องทำประกันสุขภาพ ซึ่งนโยบายนี้มีผลบังคับใช้เมื่อสิ้นปี 2547 นอกจากนี้รัฐบาลของ
รัฐดูไบยังได้จัดตั้ง Dubai Health Care City ("DHCC") เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของธุรกิจการแพทย์
โดยมีที่ตั้งอยู่ใกล้สนามบินและอยู่ห่างจากโครงการโรงพยาบาล ของ BIL ประมาณ 35 ? 40 นาที
แต่อย่างไรก็ตาม DHCC ยังไม่ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการเท่าที่ควร มีเพียงโรงพยาบาล
ที่มีชื่อเสียงบางแห่งได้จัดตั้งสถานพยาบาลขนาดเล็กใน DHCC ซึ่งโรงพยาบาลเหล่านี้มี วัตถุประสงค์ที่
จะแนะนำผู้ป่วยในรัฐดูไบให้กับโรงพยาบาลต้นสังกัดที่ส่วนใหญ่ มาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น Mayo
Clinic John Hopkins and Harvard Medical
ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วของ BIL
ปัจจุบัน BIL ได้เรียกชำระเงินค่าหุ้นจากการเพิ่มทุนคราวก่อนจาก BBL V-Science และ Istithmar
เพียงร้อยละ 25 ของมูลค่าที่ตราไว้ จึงทำให้ปัจจุบัน BIL มีทุนชำระแล้ว 744,117,525 บาท หาก
BIL มีการเรียกชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 75 ของมูลค่าที่ตราไว้จาก BBL V-Science และ
Istithmar ก่อนที่จะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในอนาคตจำนวน 7,282,908 หุ้น BILจะมีทุนจดทะเบียนและ
เรียกชำระแล้วก่อนการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในอนาคตจำนวน 7,282,908 หุ้น เท่ากับ
1,176,470,100 บาท
ภายหลังจากที่ BILเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในอนาคตจำนวน 7,282,908 หุ้นและเรียกชำระเงินค่าหุ้น
ดังกล่าวเต็มมูลค่าที่ตราไว้ จะทำให้ทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วของ BIL เท่ากับ
1,904,760,900 บาท
จำนวน ทุนจดทะเบียน ทุนชำระแล้ว
(หุ้น) (บาท) (บาท)
สถานะปัจจุบัน 11,764,701 1,176,470,100 744,117,525
ก่อนการเพิ่มทุน * 11,764,701 1,176,470,100 1,176,470,100
ภายหลังการเพิ่มทุน * 19,047,609 1,904,760,900 1,904,760,900 **
หมายเหตุ :* มีสมมุติฐานว่า BIL เรียกชำระเงินค่าหุ้นส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 75
ของมูลค่าที่ตราไว้จาก BBL V-Science และ Istithmar
ก่อนที่จะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนในอนาคตจำนวน 7,282,908 หุ้น
** มีสมมุติฐานว่า BIL เรียกชำระเงินค่าหุ้นจำนวน 7,282,908 หุ้น
เต็มจำนวนตามมูลค่าที่ตราไว้
รายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 12 มกราคม 2550
รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น %
1.บมจ. โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ 5,999,994 51.0
2.Istithmar PJSC 2,294,117 19.5
3.V-Sciences Investment Pte Ltd. 2,294,117 19.5
4.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 1,176,470 10.0
5.นายชัย โสภณพนิช 1 0.00
6.นายธนิต เธียรธนู 1 0.00
7.นางลินดา ลีสหปัญญา 1 0.00
รวม 11,764,701 100.00
คณะกรรมการ BIL
คณะกรรมการ BIL มีจำนวน 5 ท่าน ดังนี้
รายชื่อ ตำแหน่ง
1. นายเคอร์ติส จอห์น ชโรเดอร์ * กรรมการ
2. นายคาร์ล วินเซ็นท สแตนนิเฟอร์ * กรรมการ
3. นายซานเดส ปานดาเร กรรมการ
4. นายชอง โท กรรมการ
5. นายตัน ชวง ฮิน กรรมการ
หมายเหตุ : * เป็นตัวแทนจากบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)
สรุปฐานะทางการเงิน
สรุปฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของ BIL ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี สำหรับปี
2546-2548 และงบการเงินภายในของ BIL ตั้งแต่เดือนมกราคม ?เดือนกันยายน ปี 2549 เป็นดังนี้
(หน่วย : พันบาท)
งบการเงินเฉพาะบริษัท งบการเงินรวม
2546 2547 2548 2549 2548 2549
(ม.ค.- ก.ย.)* (ม.ค.?ก.ย.)*
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและเงินฝาก
สถาบันการเงิน 757 778 95,678 454,264 109,119 465,569
ลูกหนี้การค้า - สุทธิ - - 171 4,354 22,944 49,058
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น - - 20,817 71,584 10,822 19,103
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 75 778 116,666 530,202 142,885 533,730
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินลงทุนซึ่งบันทึกโดย
วิธีส่วนได้เสีย - - 238,395 417,645 506,202 503,699
เงินลงทุนอื่น - - - - - 14,436
เงินให้กู้ยืมระยะยาวและ
ดอกเบี้ยค้างรับ -
กิจการที่เกี่ยวข้อง - - 204,214 25,634 - -
อุปกรณ์ - สุทธิ - - 539 510 539 510
สินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตน ? สุทธิ - - 121,487 115,683 121,487 115,683
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน - - 564,636 559,473 628,228 634,328
รวมสินทรัพย์ 757 778 681,302 1,089,675 771,114 1,168,058
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เงินทดรองระยะสั้นจาก
บริษัทใหญ่ - - 5 10,210 5 10,210
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 20 20 6,182 9,121 11,764 13,900
รายได้รับล่วงหน้า - - 33,607 26,833 33,607 26,833
หนี้สินหมุนเวียนอื่น - - 956 897 4,632 897
รวมหนี้สินหมุนเวียน 20 20 40,751 47,061 50,009 51,840
หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินทดรองระยะยาว
จากบริษัทใหญ่ 407 734 - - - -
รวมหนี้สิน 427 754 40,751 47,061 50,009 51,840
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนเรือนหุ้น
ทุนจดทะเบียน ทุนที่ออก
และเรียกชำระแล้ว
หุ้นสามัญ 6,000,000 หุ้น
มูลค่าหุ้นละ 100 บาท 1,000 600,000 600,000 744,118 600,000 744,118
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 308,526 308,526
ลูกหนี้ค่าหุ้น - (599,000) - - - -
ผลต่างจากการแปลง
ค่างบการเงิน - - 29,394 18,995 29,394 18,995
กำไร (ขาดทุน) สะสม (671) (976) 11,157 (29,025) 11,157 (29,025)
รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท 329 24 640,551 1,042,614 640,551 1,042,614
รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
ของบริษัทย่อย - - - - 80,553 73,604
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 757 778 681,302 1,089,675 771,114 1,168,058
รายได้
รายได้ค่าบริการ - - 25,006 26,811 48,264 46,539
ดอกเบี้ยรับ - - 3,742 6,973 1,874 3,640
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน - - 760 (3,246) 744 (3,370)
รายได้อื่น - - 767 - 767 -
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน
ตามวิธีส่วนได้เสีย - - 28,597 - 887 -
รวมรายได้ - - 58,872 30,538 52,538 46,809
ค่าใช้จ่าย
ค่าเสื่อมราคาและตัดจำหน่าย - - 4,426 5,835 4,426 5,835
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 20 272 30,118 49,373 41,320 71,152
ส่วนแบ่งขาดทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 12,191 15,512 14,580
รวมค่าใช้จ่าย 20 272 46,735 70,720 45,747 91,567
กำไร (ขาดทุน) ก่อนดอกเบี้ยจ่าย
และภาษีเงินได้นิติบุคคล (20) (272) 12,137 (40,182) 6,791 (44,758)
ดอกเบี้ยจ่าย (27) (33) (3) - (33) -
ภาษีเงินได้นิติบุคคล - - - - (297) -
กำไร(ขาดทุน) ก่อนส่วนของ
ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (47) (306) 12,134 (40,182) 6,462 (44,758)
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย - - - - 5,671 4,576
กำไร(ขาดทุน) สุทธิสำหรับปี (47) (306) 12,134 (40,182) 12,134 (40,182)
* หมายเหตุ : เป็นงบภายในของบริษัท
อัตราส่วนทางการเงิน
2546 2547 2548 (ม.ค.- ก.ย.)2549
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 37.85 38.90 2.86 9.92
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ร้อยละ) (6.21) (39.33) 1.57 (3.44)
อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.30 31.42 0.07 0.05
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ร้อยละ) (14.29) (1,275) 1.68 (3.59)
ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
สินทรัพย์รวม
สินทรัพย์รวมตามงบการเงินสำหรับปี 2546-2548 มีจำนวน 0.76 ล้านบาท 0.78 ล้านบาท
และ 771 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากในปี 2546 และ 2547 BIL ยังไม่มีการเพิ่มทุนแต่อย่างใด
จึงทำให้มีสินทรัพย์เป็นเงินสดและเงินฝากธนาคารจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น สำหรับการเพิ่มขึ้นของ
สินทรัพย์รวมในปี 2548 เป็นผลมาจากการเริ่มเข้าลงทุนของ BIL ในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจำนวน 4
บริษัท ได้แก่ บริษัท บำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ฟิลิปปินส์ อิงค์ ("BIPI") บริษัท เนปจูน สตรอยก้า
โฮลดิ้ง อิงค์ ("Neptune") Bumrungrad International Holdings (Hong Kong) Limited
("BIH") และ Bumrungrad International Management (Hong Kong) Limited("BIM")
ทั้งนี้ BIPI และ Neptune ได้เข้าลงทุนร่วมกันใน AHI เมื่อเดือนมีนาคม 2548 ส่วน BIH และ BIM
ยังไม่มีการลงทุนใดๆ ดังนั้น BIL จึงมีรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นอย่างมาก
เป็นจำนวนเท่ากับ 109 ล้านบาท และเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียจำนวน 506 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 BIL มีสินทรัพย์รวมจำนวน 1,168.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ
สิ้นปี 2548 ซึ่งมีจำนวน 771.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 396.95 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อย
51.48 การเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นผลจากรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงินที่มีจำนวนเท่ากับ
465.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากจำนวน 109.12 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2548 ทั้งนี้เนื่องจาก BILได้ขายหุ้น
เพิ่มทุนจำนวน 884.99 ล้านบาทและเรียกชำระแล้วจำนวน 452.65 ล้านบาท ในเดือนกรกฎาคม 2549
จึงทำให้รายการดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาก
หนี้สินรวมและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินรวมตามงบการเงินสำหรับปี 2546-2548 มีจำนวน 0.43 ล้านบาท 0.75 ล้านบาท และ
50.01 ล้านบาท ตามลำดับ หนี้สินรวมในปี 2548 เพิ่มขึ้นจากรายการรายได้รับล่วงหน้า ซึ่ง BIL
ได้รับชำระค่าลิขสิทธิ์จากการขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ AHI และทยอยรับรู้เป็นรายได้ค่าลิขสิทธิ์
ตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 มีมูลค่า 32.6 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 BIL มีหนี้สินรวมจำนวน 51.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก ณ
สิ้นปี 2548 ที่มีจำนวน 50.01 ล้านบาท โดยรายการที่เพิ่มขึ้นมากคือรายการเงินทดรองจากบริษัทใหญ่
จำนวน 10.2 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นค่า consulting fee ที่ BIL ต้องชำระให้แก่บริษัท ปี ละ 55
ล้าน แบ่งชำระเป็นรายไตรมาส ไตรมาสละ 13.75 ล้านบาท โดยเริ่มสัญญาในเดือนสิงหาคมปี 2549
ส่วนของผู้ถือหุ้นตามงบการเงินสำหรับปี 2546-2548 มีจำนวน 0.33 ล้านบาท 0.024 ล้านบาท
และ 721.10 ล้านบาท ตามลำดับ ในปี 2548 ส่วนของผู้ถือหุ้นของ BIL เพิ่มขึ้นอย่างมากจากการ
ที่ผู้ถือหุ้นได้ชำระเงินเพิ่มทุนจำนวน 599 ล้านบาท จึงทำให้ทุนชำระแล้วของ BIL มีจำนวนเท่ากับ 600
ล้านบาท
ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 BIL มีส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 1,116.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ
สิ้นปี 2548 ที่มีจำนวน 721.10 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นเท่ากับ 395.12 ล้านบาทการเพิ่มขึ้นดังกล่าวส่วนหนึ่ง
เป็นผลมาจากการได้รับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 452.64 ล้านบาทในเดือนกรกฎาคม 2549
อย่างไรก็ตาม BIL มีผลขาดทุนสะสมจำนวน (29.02) ล้านบาท เมื่อรวมกับผลต่างจากการแปลงค่า
งบการเงินจำนวน 18.99 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 73.60 ล้านบาท
จึงทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นมีจำนวน 1,116.22 ล้านบาท
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2546 - 2547 BIL ยังไม่มีรายได้เนื่องจาก BIL ยังไม่มีการลงทุนใดๆ สำหรับในปี
2548 BIL มีรายได้เกือบทั้งหมดมาจากรายได้ค่าบริการ จำนวน 48.26 ล้านบาท
ซึ่งแบ่งเป็นรายได้จากการ รับจ้างบริหารโรงพยาบาล AHI จำนวนประมาณ 23.26 ล้านบาท
และรายได้จากการรับจ้างบริหาร โรงพยาบาล Square International และ โรงพยาบาล Pun
Hlaing International Hospital ในประเทศบังกลาเทศและประเทศพม่าจำนวน 2.27
ล้านบาทและ 10.14 ล้านบาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม BIL ได้ยกเลิกสัญญาการบริหารโรงพยาบาลทั้ง
2 แห่งแล้ว ส่วนที่เหลือจำนวน 12.59 ล้านบาทเป็นรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
และ ติดตั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ AHI
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 รายได้เกือบทั้งหมดของ BIL มาจากรายได้ค่าบริการ
ซึ่งมีจำนวน 46.54 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากการรับจ้างบริหารโรงพยาบาล จำนวน 35.38 ล้านบาท
ส่วนที่เหลือจำนวน 11.16 ล้านบาท เป็นรายได้จากการขายลิขสิทธิ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และ
ติดตั้งคอมพิวเตอร์ให้แก่ AHI ในส่วนของค่าใช้จ่ายนั้นในปี 2546 -2547 BIL มีเพียงค่าใช้จ่าย
ในการบริหาร ทั้งนี้เนื่องจาก BIL ยังไม่มีการลงทุนใดๆ ช่วงดังกล่าว สำหรับในปี 2548 BIL
มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจำนวน 41.32 ล้านบาท การที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็เนื่องมา จากการที่ BIL
เริ่มเข้าลงทุนใน AHI จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบริหารโรงพยาบาล และค่าเสื่อมราคาตัดจำหน่ายจาก
การซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 BIL มีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 91.57 ล้านบาทค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่า
ใช้จ่ายในการบริหาร และค่าเสื่อมราคาตัดจำหน่ายจากการซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประกอบธุรกิจ
เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศ ค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้นมากเนื่องจาก BIL
ได้มีการตั้งค่าเผื่อผลการด้อยค่าจากการลงทุนในประเทศจีน จำนวน (19.54) ล้านบาท และมีค่า
Consulting fee ซึ่ง BIL ทำสัญญาจ้างบริหาร (consulting fee) กับบริษัท ปี ละ 55 ล้าน
แบ่งชำระ เป็นรายไตรมาส ไตรมาสละ 13.75 ล้านบาท โดยเริ่มสัญญาในเดือนสิงหาคม ปี 2549
กำไร (ขาดทุน) สุทธิตามงบการเงินรวมสำหรับปี 2546-2548 มีจำนวน (0.048) ล้านบาท (0.31)
ล้านบาท และ 12.13 ล้านบาท ตามลำดับ ผลขาดทุนของ BIL ในปี 2546 และ 2547 เป็นผลมาจาก
BIL ยังไม่มีรายได้จากการดำเนินงานแต่มีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารงาน จึงทำให้เกิดผลขาดทุนขึ้น
สำหรับปี 2548 BIL เริ่มมีรายได้จากการค่าบริการและส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนจึงทำให้ BIL
มีกำไรจากผลการดำเนินงานดังกล่าวในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 BIL มีผลขาดทุนสุทธิจำนวน
(40.18) ล้านบาท ผลขาดทุนดังกล่าวเป็นผลขาดทุนจากรายการส่วนแบ่งขาดทุนจาก
เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียซึ่งมีจำนวน (14.58) ล้านบาท จากผลขาดทุนจากเงินลงทุนใน AHI ซึ่ง BIL
ลงทุนผ่าน BIPI และ Neptune และรายการค่าเผื่อการด้อยค่าจากการลงทุนในประเทศจีนจำนวน
(19.54) ล้านบาท เนื่องจากโครงการดังกล่าว ได้หยุดดำเนินการชั่วคราว
อัตราส่วนทางการเงิน
ในปี 2546 และ 2547 BIL มีอัตราส่วนสภาพคล่องเท่ากับ 37.85 และ 38.90
ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ทั้งนี้สืบ เนื่องจาก BIL ยังไม่ได้ลงทุนในกิจการใด จึงทำให้ไม่มีหนี้สินหมุนเวียน
มากนัก สำหรับในปี 2548 BIL ได้ลงทุนใน AHI จึงทำให้อัตราส่วนสภาพคล่องดังกล่าวอยู่
ในระดับที่ปกติเหมือนกิจการทั่วไป ทั้งนี้อัตราส่วนสภาพคล่องที่ 2.86 เท่าในปี 2548 แสดงให้เห็นว่า
BILมีการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หมุนเวียนที่มากกว่าหนี้สินหมุนเวียนสินทรัพย์หมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจาก
การเพิ่มขึ้นของเงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด และลูกหนี้การค้าตามรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้นในปี
2548
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 BIL มีอัตราส่วนสภาพคล่องเท่ากับ 9.92
เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2548 ทั้งนี้เนื่องจากสินทรัพย์หมุนเวียนของ BIL
เพิ่มขึ้นอย่างมากจากรายการเงินสดและเงินฝากธนาคารที่ได้รับมาจากการเพิ่มทุนในเดือนกรกฎาคม 2549
ในขณะที่หนี้สินหมุนเวียนมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย
อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ในปี 2546-2548 เท่ากับร้อยละ (6.21) (39.33) และ 1.57
ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ติดลบในปี 2546 และ 2547 เนื่องจาก BIL
ยังประสบผลขาดทุนในช่วงปีดังกล่าว ต่อมาในปี 2548 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์เพิ่มขึ้นเนื่องจาก BIL
มีผลกำไรที่เพิ่มขึ้น จากการลงทุนใน AHI จึงทำให้ BIL มีรายได้จากการบริการและรายได้จาก
ส่วนแบ่งกำไรขาดทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 BIL มีอัตราผลตอบแทนเท่ากับ (3.44)อัตราผลตอบแทนติดลบ
ดังกล่าวเป็นผลจากผลขาดทุนจากการดำเนินงานจำนวน (40.18) ล้านบาท ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่
บริษัทรับรู้ผลขาดทุนจากส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย และจากค่าเผื่อการด้อยค่าจากการ
ลงทุนในประเทศจีนอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นในปี 2546-2548 เท่ากับร้อยละ 1.30 31.42 และ
0.07 ตามลำดับ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงในปี 2548 เนื่องจาก BIL ได้เพิ่มทุนจำนวน
599 ล้านบาท จึงทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 BIL มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นเพียงร้อยละ 0.05
อัตราส่วนที่ต่ำดังกล่าวเป็นผลจากการเพิ่มทุนของ BIL ในเดือนกรกฎาคม 2549 จึงทำให้ส่วนของ
ผู้ถือหุ้นของ BIL เพิ่มขึ้นจาก 640.55 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2548 เป็น 1,042.61 ล้านบาท ณ วันที่ 30
กันยายน 2549
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นในปี 2546-2548 เท่ากับร้อยละ (14.29) (1,275) และ 1.68
ตามลำดับ อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นที่ติดลบในปี 2546 - 2547 เนื่องมาจากผลขาดทุนในปี 2546 ? 2547
จากการที่ BIL ยังไม่ได้ลงทุนในกิจการใดๆ จึงทำให้มีแต่ค่าใช้จ่าย สำหรับในปี 2548
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเนื่องจาก BIL มีผลกำไรจากการดำเนินงานในปี 2548
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2549 BIL มีอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ (3.59)
อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นติดลบเป็นผลมาจากผลขาดทุนจากการดำเนินงานของ BIL
2. ความสมเหตุสมผลของรายการ
2.1 วัตถุประสงค์ในการทำรายการและความจำเป็นที่ต้องทำรายการ
BIL เป็นบริษัทที่ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น (holding company) ซึ่งจะเน้นการ
ลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในต่างประเทศร่วมกับบริษัทท้องถิ่น รวมถึงการให้คำปรึกษาและ
บริหารจัดการโรงพยาบาล ปัจจุบัน BIL มีการลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมจำนวน 5 บริษัท ได้แก่
BIPI Neptune BIH BIM และ BHD ทั้งนี้ 1) BIPI และ Neptune ได้เข้าลงทุนร่วมกันใน AHI
ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศฟิลิปปินส์ในสัดส่วนร้อยละ 42.35 ของทุนจดทะเบียน
และเรียกชำระแล้วของ AHI หรือ คิดเป็นสัดส่วนที่ BIL ถือใน AHI โดยตรงคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
35.18ของทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วของ AHI 2) BHD ได้ลงทุนใน Bumrungrad Hospital
Dubai เพื่อดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ในเมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ 3) BIH
ได้ลงทุนในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศจีน แต่โครงการได้หยุดดำเนินการชั่วคราว และ 4) BIM
ปัจจุบันยังไม่มีการประกอบกิจการใดๆ
เมื่อพันธมิตรทางธุรกิจ ได้เริ่มเข้ามาลงทุนใน BIL ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2549 พันธมิตรทาง
ธุรกิจได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อ BIL ให้มีการเจริญเติบโตและขยายการลงทุนออกไปให้รวดเร็ว
ในขนาดที่ใหญ่กว่าเดิมที่วางแผนไว้ ทั้งนี้เนื่องจากพันธมิตรทางธุรกิจเหล่านั้นได้เล็งเห็นโอกาสในการลง
ทุนทางด้านธุรกิจโรงพยาบาล (Healthcare investments) ในแถบภูมิภาค บริษัทจึงได้ให้การตอบรับ
และสนับสนุนกลยุทธ์ในการเจริญเติบโตนี้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามบริษัทก็ได้คำนึงถึงข้อจำกัดทาง
ด้านเงินทุนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการขยายธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศนี้
อันดับแรก บริษัทได้มีการวางแผนสำหรับค่าใช้จ่ายการลงทุนที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ทั้ง
ในการขยายสถานที่และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในกรุงเทพ
ตลอดช่วงระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทมีภาระผูกพัน
ในการชำระค่าก่อสร้างอาคารจำนวน 119.8 ล้านบาท และค่าเครื่องมือแพทย์และ
อุปกรณ์โรงพยาบาลจำนวน 175.6 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 295.4 ล้านบาทซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินลงทุน
จากกระแสเงินสดภายในบริษัทและเงินกู้ยืมจากธนาคาร ดังนั้นหากบริษัทยังต้องมีภาระการลงทุน
ในต่างประเทศอีก ก็อาจจะกระทบกับแผนการลงทุนในประเทศได้เนื่องจากบริษัทอาจมีข้อจำกัด
ในด้านเงินลงทุน
อันดับที่สอง การลงทุนในโรงพยาบาลที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ (Greenfield Project) เช่น ดูไบ
และการซื้อกิจการโรงพยาบาลเก่ามาทำการปรับปรุงใหม่ (เช่น AHI) นับเป็นการลงทุนที่มีความ
เสี่ยงสูงกว่าและใช้ระยะเวลาคืนทุนนานกว่าธุรกิจโรงพยาบาลที่อยู่ตัวแล้ว
(เช่นโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในกรุงเทพ) ดังนั้น การลงทุนในลักษณะนี้อาจทำให้ BIL
ในฐานะผู้ลงทุนได้รับผลกระทบทางการเงินในเชิงลบในระยะสั้น ทั้งในด้านของฐานะทางการเงิน
ผลประกอบการ รวมถึงกระแสเงินสดที่แสดงผ่านงบการเงินของ BIL และส่งผลกระทบต่องบการเงินรวม
ของบริษัทโดยตรง โดยจะทำให้อัตราส่วนทางการเงินแย่ลงและเกิดกระแสเงินสดออกมากขึ้น
ซึ่งจะสร้างแรงกดดันต่อราคาตลาด และอาจกระทบต่อการจ่ายเงินปันผลของบริษัทได้
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทอาจคงสัดส่วนการถือหุ้นใน BIL ที่ร้อยละ 51 และพยายามที่จะหาเงิน
ทุนให้ได้ตามความต้องการเงินทุนของ BIL โดยมาจากการออกหุ้นเพิ่มทุนในอนาคต อย่างไรก็ตาม
กระบวนการในการเพิ่มทุนของบริษัทจะต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งอาจจะไม่สอดคล้องและทันต่อความ
ต้องการในการใช้เงินทุนของ BIL นอกจากนี้ การเพิ่มทุนของบริษัทจะส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท
ในด้านของส่วนแบ่งกำไรต่อหุ้นและราคาตลาดต่อหุ้นที่จะลดลง หรือหากบริษัทกู้ยืมเงินจากสถาบันการ
เงินเพื่อนำไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ BIL ก็จะทำให้บริษัทต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจ่าย ในขณะที่กว่าผลตอบ
แทนจากการลงทุนใน BIL จะเป็นบวกยังต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายปี ประกอบกับในช่วงแรกของการลง
ทุนต้องใช้เวลาระยะหนึ่งในการทำให้ลูกค้ารู้จักและเกิด brand royalty ก่อน
อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนว่าธุรกิจที่ไปลงทุนใหม่จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ดังนั้นบริษัทจึง
พิจารณาปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นใน BIL โดยสรรหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ที่จะช่วยให้การดำเนินงานของ
BIL ประสบความสำเร็จมากขึ้น ทั้งในด้านของการได้รับการแนะนำโอกาสในการลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพ
การใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเพื่อช่วยให้การดำเนินงานของ BIL และบริษัทย่อยสามารถทำได้คล่องตัว
และสะดวกมากขึ้น รวมทั้งมีความเพียงพอของเงินทุนที่จะเข้ามาลงทุนใน BIL
เพื่อที่จะขจัดปัญหาดังกล่าวข้างต้น และในขณะเดียวกันให้บริษัทคงการสนับสนุนแผนการ
ขยายธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศของ BIL บริษัทจึงตัดสินใจที่จะให้มีผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามาลงทุน
ใน BIL โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีเงินทุนและมีความเข้าใจในความเสี่ยงต่างๆจากการลงทุน ในการนี้ AFH ซึ่ง
เป็นบริษัทที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัท เป็นบริษัทที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งยังจะสามารถสร้างมูลค่า
เพิ่มให้กับบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากความสัมพันธ์ทางธุรกิจในประเทศจีน ไต้หวัน และ ฮ่องกงของ
AFH
ดังนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2550 จึงมีมติอนุมัติการสละ
สิทธิของบริษัทในการจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ในอนาคตของ BILจำนวนไม่เกิน 3,714,283 หุ้น ใน
ราคาหุ้นละ 153.52 บาท และเสนอขายให้กับ AFH ดังนั้นภายหลังจากการเพิ่มทุนในอนาคตของ BIL
จำนวน 7,282,908 หุ้น โดยที่ บริษัทจะสละสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ในอนาคตของ BIL
จำนวน 3,714,283 หุ้น และให้ AFH ซื้อหุ้นจำนวนดังกล่าว AFH จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นของ BIL ในสัด
ส่วน 19.5% ในขณะที่ BIL จะลดสัดส่วนการถือหุ้นจากร้อยละ 51 เป็นร้อยละ 31.5
2.2 ข้อดีและข้อด้อยระหว่างการทำรายการกับการไม่ทำรายการ
2.2.1 ข้อดีของการทำรายการ
ก) ลดความเสี่ยงจากการลงทุนของ BH ใน BIL
BIL เป็นบริษัทย่อยของบริษัทที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนและ
การให้บริการการรับจ้างบริหารโรงพยาบาลในต่างประเทศ ซึ่งการลงทุนในธุรกิจ
โรงพยาบาลในต่างประเทศของ BIL เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงที่แตกต่างและสูงกว่าธุรกิจ
โรงพยาบาลในประเทศ (โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์) ที่บริษัทดำเนินการอยู่ กล่าวคือ
ถ้าเป็นการลงทุนในโรงพยาบาลที่ก่อสร้างขึ้นใหม่ (Greenfield Project) เช่น
โรงพยาบาลในดูไบที่ BIL ดำเนินการอยู่ เป็นโครงการที่ใช้เงินลงทุนสูง
มีระยะเวลาคืนทุนนาน และต้องใช้เวลานานในการสร้าง Brand Loyalty
อีกกรณีหนึ่งของการลงทุนของ BIL คือการเข้าซื้อกิจการโรงพยาบาลเก่ามาทำการปรับปรุงใหม่
เช่น การลงทุนใน AHI ซึ่ง BIL จะต้องใช้ระยะเวลานานในการปรับปรุงการดำเนินงาน
เพื่อผลิกฟื้นผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินจนกว่า BILจะสามารถเก็บเกี่ยวผลตอบ
แทนได้ ดังนั้น การลงทุนในลักษณะนี้อาจทำให้ BILในฐานะผู้ลงทุนได้รับผลกระทบทางการเงิน
ในเชิงลบในระยะแรกทั้งในด้านของฐานะทางการเงินผลประกอบการและจะส่งผลกระทบต่อ
งบการเงินรวมของบริษัทในที่สุด
ดังนั้นการทำธุรกรรมดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนของ BH ใน BIL
ข) เพิ่มพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (Strategic Partner) ให้กับ BIL
ธุรกรรมดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มพันธมิตรให้กับ BIL ซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำเนินงานของ BIL
ที่มุ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศ โดย AFH มีบริษัทย่อย คือ Asian
Insurance Co., Ltd. ("AI") ซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิต 1 ใน 5 อันดับแรกของประเทศ
ฮ่องกง ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ AI ได้แก่ กลุ่มลูกค้าประเทศจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
(Hong Kong Special Administrative Region : HKSAR) โดย AFH
มีนโยบายเพิ่มเติมที่จะขยายขอบเขตการลงทุนไปยังธุรกิจ Health Care ในประเทศอื่นๆ อีก
การที่ AFH เข้าร่วมเป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์กับ BIL จะทำให้ BIL สามารถใช้ AFH
ในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจที่จะไปลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลในประเทศ
จีนและ HKSAR มากขึ้น นอกจากนี้ หาก BIL ได้เข้าลงทุนในบริษัทที่ประกอบธุรกิจ
โรงพยาบาลในประเทศจีนและ HKSAR แล้ว BIL ก็สามารถขยายฐานลูกค้าเพิ่มได้อย่างรวดเร็ว
โดยการแนะนำของ AFH เนื่องจากธุรกิจโรงพยาบาลและธุรกิจประกันชีวิต เป็นธุรกิจที่ความ
เกี่ยวเนื่องกัน
ค) ลดภาระการลงทุนของบริษัท
ธุรกรรมดังกล่าวทำให้บริษัทไม่มีภาระจากการลงทุนในการจัดหาเงินเพิ่มทุนในกรณีที่ BIL ได้มีการ
เสนอขายหุ้นเพิ่มทุน ดังที่กล่าวแล้วว่าบริษัทได้มีการวางแผนสำหรับค่าใช้จ่ายการลงทุนที่ต้องใช้เงิน
ทุนจำนวนมาก ทั้งในการขยายสถานที่และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ของโรงพยาบาล
บำรุงราษฎร์ในกรุงเทพตลอดช่วงระยะเวลา 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจาก
กระแสเงินสดภายในบริษัทและเงินกู้ยืมจากธนาคารดังนั้นหากบริษัทยังต้องมีภาระการลงทุน
ในต่างประเทศอีก ก็อาจจะกระทบกับแผนการลงทุนในประเทศ
2.2.2 ข้อด้อยของการทำรายการ
ผลกระทบต่อสิทธิในการออกเสียงและอำนาจในการควบคุมและส่วนแบ่งกำไรของผู้ถือหุ้นเดิม
ธุรกรรมดังกล่าวจะทำให้บริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้น สิทธิในการออกเสียง อำนาจในการควบ
คุม BIL รวมทั้งสัดส่วนของส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนจากผลการดำเนินงานของ BIL ลดลงจากร้อยละ
51.00 ของทุนจดทะเบียน เป็นร้อยละ 31.50 ของทุนจดทะเบียน
อย่างไรก็ตาม บริษัทจะยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของ BIL ในสัดส่วนร้อยละ 31.50 ของ
ทุนจดทะเบียน ประกอบกับการที่บริษัทเป็นผู้ถือหุ้นรายเดียวที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลในขณะที่ผู้ถือ
หุ้นรายอื่นทั้งหมดเป็นนักลงทุนเพียงอย่างเดียว จึงทำให้ผู้ถือหุ้นรายอื่นทุกรายต้องพึ่งพิงประสบการณ์
ของบริษัทในการบริหารธุรกิจโรงพยาบาล นอกจากนี้ อาจกล่าวได้ว่าบริษัทยังคงมีอำนาจต่อรองและควบ
คุม BIL ในลักษณะของการคัดค้านการลงมติพิเศษ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ระบุให้ที่
ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดจะอนุมัติมติพิเศษ เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การเลิกกิจการ เป็นต้น ได้
นั้นจะต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้น 2 ครั้ง โดยครั้งแรกจะต้องได้รับเสียงสนับสนุน 3 ใน 4 ของจำนวนเสียง
ทั้งหมด และครั้งที่ 2 จะต้องได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนในเรื่องเดียวกัน 2 ใน 3 ของจำนวนเสียงทั้งหมด
ดังนั้น ถึงแม้ว่า บริษัทจะลดสัดส่วนการถือหุ้นใน BIL ลงจากร้อยละ 51.00 ของทุนจด
ทะเบียน เป็นร้อยละ 31.50 ของทุนจดทะเบียนก็ตาม แต่บริษัทยังคงมีอำนาจการบริหารงานหรืออำนาจ
การควบคุมใน BIL ตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทใน BIL และมี AFH และ BBL เป็นพันธมิตรของ
บริษัท
2.3 ข้อดีและข้อด้อยระหว่างทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับการทำรายการกับบุคคลภายนอก
ราคาหุ้นละ 153.52 บาท เป็นราคาเดียวกันกับราคาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ BIL ที่ได้
รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 ในการที่ BIL เสนอขายหุ้นสามัญให้ผู้ถือหุ้น
เดิมและบริษัทได้สละสิทธิในการจองซื้อหุ้นให้แก่พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ ซึ่งได้แก่ BBL V-Sciences และ
Istithmar
ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมีความเห็นว่า แม้ว่าการทำธุรกรรมดังกล่าวจะเป็นการทำธุรกรรม
กับบุคคลเกี่ยวโยงกันของบริษัท แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อบริษัทและ BIL กล่าวคือ หากบริษัทสละสิทธิใน
การจองซื้อหุ้นสามัญของ BIL ให้กับบุคคลภายนอกแทนที่จะเสนอขายให้กับ AFH ที่เป็นบุคคลเกี่ยวโยง
กัน อาจจะต้องใช้เวลานานทั้งในการสรรหา การทำ due diligence
และการเจรจาต่อรองกับผู้สนใจลงทุนที่มีศักยภาพและความพร้อมทั้งทางด้านแหล่งเงินทุนและ
ความเข้าใจในธุรกิจโรงพยาบาล ซึ่งอาจทำให้ BIL พลาดโอกาสทางธุรกิจได้นอกจากนี้การที่ผู้บริหารของ
AFH รู้จักคุ้นเคยกับผู้บริหารของบริษัทเป็นอย่างดี จึงทำให้คาดว่าการร่วมลงทุนครั้งนี้จะทำให้ได้
พันธมิตรที่ดีและยังช่วยเกื้อหนุน ทางธุรกิจโดยเฉพาะการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในประเทศจีนมากขึ้นอีกด้วย
แม้ว่าการที่บริษัทสละสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญของ BIL ครั้งนี้ จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้น
และอำนาจในการควบคุมของบริษัทใน BIL ลดลงก็ตาม ซึ่งโดยปกติ บริษัท BBL AFH V-Science และ
Istithmar จะมีการตัดสินใจที่เป็นอิสระต่อกัน แต่เนื่องจากการสละสิทธิดังกล่าวเป็นการสละสิทธิให้แก่
AFH ซึ่งเป็นบุคคลเกี่ยวโยงกัน จึงทำให้บริษัทสามารถใช้ความสัมพันธ์ที่มีในการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ
ทั้งการประชุมคณะกรรมการหรือการประชุมผู้ถือหุ้นได้ ซึ่งหาก AFH ให้การสนับสนุนบริษัทในการ
ประชุมผู้ถือหุ้นนั้น จะทำให้บริษัท BBL และ AFH มีสัดส่วนการถือหุ้นและอำนาจในการควบคุมใน BIL
เพิ่มขึ้นเป็น 61.00 ของทุนจดทะเบียน ซึ่งเพียงพอที่จะควบคุมการอนุมัติมติการประชุมผู้ถือหุ้นทั่วไป ที่
ต้องการคะแนนเสียงสนับสนุนร้อยละ 51.00 ของจำนวนเสียงทั้งหมด แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะควบคุมการ
อนุมัติมติพิเศษที่ต้องการคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดในการประชุมครั้งแรก และคะแนน
เสียง 2 ใน 3 ของจำนวนเสียงทั้งหมดในการประชุมครั้งที่ 2 แต่หากแม้ AFH จะไม่ให้การสนับสนุนใน
แนวทางเดียวกับบริษัทก็ตาม บริษัทก็ยังคงมีสัดส่วนการถือหุ้นและอำนาจการควบคุมใน BIL เท่ากับ
31.50 ของทุนจดทะเบียน ซึ่งเพียงพอที่จะควบคุม BIL ในลักษณะของการคัดค้านการอนุมัติมติพิเศษตาม
ข้อ 2.2.2 ได้อยู่ดี
การที่บริษัทจะสละสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญของ BIL เพื่อให้ AFH ซึ่งเป็นบุคคลเกี่ยวโยง
กันจองซื้อหุ้น และเข้าเป็นผู้ถือหุ้นของ BIL นั้น เข้าข่ายเป็นรายการเกี่ยวโยงกันตามประกาศของตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (?ตลาดหลักทรัพย์ฯ?) และธุรกรรมดังกล่าวมีมูลค่ามากกว่า 20 ล้านบาท และ
ร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัท ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวของตลาด
หลักทรัพย์ฯ บริษัทจึงได้จัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัท ครั้งที่ 1/2550 ในวันที่ 12 มีนาคม
2550 เพื่อให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาการอนุมัติวาระดังกล่าว พร้อมทั้งได้จัดให้มีที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพื่อ
ให้ความเห็นในการทำรายการต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย โดยในการที่จะได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้
เข้าทำธุรกรรมดังกล่าวจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่
มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย
ดังนั้นจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงมีความเห็นว่าการเข้าทำรายการ
กับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันในครั้งนี้จะทำให้บริษัทสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่จะปรับลดสัดส่วนการถือหุ้น
ใน BIL เพื่อลดผลกระทบจากผลประกอบการของ BIL พร้อมทั้งหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่มีความพร้อมใน
ด้านของเงินทุนและความสามารถที่จะช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ BIL และบริษัทย่อย ได้มากกว่า
การเข้าทำรายการกับบุคคลภายนอก รวมถึงการเข้าทำรายการกับบุคคลเกี่ยวโยงกัน ซึ่งเป็นพันธมิตรและมี
ความคุ้นเคยกันดี จะทำให้บริษัทยังคงรักษาอำนาจในการควบคุม BIL ได้ อีกทั้งในการพิจารณาอนุมัติ
ให้บริษัทเข้าทำรายการดังกล่าวกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันหรือบุคคลที่มีส่วนได้เสียจะไม่มีสิทธิออกเสียงลง
คะแนนเพื่ออนุมัติการเข้าทำรายการดังกล่าวได้ จึงมีความเห็นว่าการทำรายการดังกล่าวมีความสมเหตุสม
ผลและเป็นประโยชน์ต่อบริษัทและ BIL ในระยะยาว
3. ความเป็นธรรมของราคาและเงื่อนไขของรายการ
3.1 ความเหมาะสมของราคาและสิ่งตอบแทนอื่น
ตามที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัท ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2550 มีมติอนุมัติ
การสละสิทธิของบริษัท ในการจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ในอนาคตของ BIL จำนวนไม่เกิน 3,714,283
หุ้น ในราคาหุ้นละ 153.52 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 570,216,726.16 บาท ให้กับ AFH
หรือบริษัทย่อยของ AFH จองซื้อหุ้นสามัญดังกล่าว
ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระได้ประเมินมูลค่าหุ้นสามัญที่เหมาะสมของ BIL ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อ
พิจารณาให้ความเห็นต่อความเป็นธรรมของราคาซื้อขายดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
3.1.1 วิธีมูลค่าหุ้นตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value Approach: BV)
การประเมินมูลค่าหุ้นตามวิธีนี้เป็นการประเมินจากมูลค่าตามบัญชี โดยพิจารณาจากงบการเงิน
รวมภายในของ BIL สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 สรุปได้ดังนี้
รายการ จำนวนเงิน
ส่วนของผู้ถือหุ้น* (ล้านบาท) 1,042.61
จำนวนหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด (ล้านหุ้น) 11.76
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท) 88.66
* ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธีมูลค่าตามบัญชีนี้ เป็นวิธีประเมินที่ไม่ได้คำนึงถึงความสามารถใน
การทำกำไรของกิจการในอนาคต และไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงมูลค่าตลาดที่แท้จริงของสินทรัพย์ แต่เป็น
การแสดงให้เห็นถึงมูลค่าตามบัญชี ณ จุดเวลาหนึ่ง ทั้งนี้จากงบการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 ของ
BIL จะพบว่ามูลค่าหุ้นตามบัญชีเท่ากับ 88.66 บาทต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ตกลงขายที่ 153.52 บาทต่อหุ้น
อยู่เป็นจำนวน (64.86) บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ (42.25)
3.1.2 วิธีการปรับปรุงมูลค่าตามบัญชี (Adjusted Book Value Approach: ABV)
การประเมินมูลค่าหุ้นโดยวิธีนี้ เป็นการนําสินทรัพย์รวมของ BIL ณ วันที่ 30
กันยายน 2549 หักด้วยหนี้สินรวม ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 พร้อมทั้งปรับปรุงด้วยภาระผูกพัน
และหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (Commitments and Contingent Liabilities)
รวมถึงส่วนเพิ่มหรือส่วนลดตามราคาตลาดของสินทรัพย์ถาวรที่มีการประเมินโดยบริษัทประเมิน
ราคาอิสระ เป็นต้น จากนั้นนำมาหารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดของ BIL
อย่างไรก็ตามจากการที่ BIL เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจการลงทุนในบริษัทอื่น มิใช่ธุรกิจเกี่ยวกับ
การผลิตหรือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์ส่วนใหญ่ของ BIL จึงอยู่ในรูปของเงินลงทุนในบริษัทย่อย
เงินสดและเงินลงทุนระยะสั้น จากข้อมูลตามงบการเงินภายในของ BIL ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 สิน
ทรัพย์ถาวรของ BIL จะอยู่ในรูปของอุปกรณ์จำนวน 0.51 ล้านบาท ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ 92.26 ล้าน
บาท ซึ่งมิใช่สินทรัพย์ประเภทที่ดิน ที่จะสามารถมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้ในอนาคต ดังนั้น BIL จึงมิได้ทำ
การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ถาวรขึ้นใหม่ รายละเอียดของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเป็นดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ จำนวนเงิน
สินทรัพย์รวม 1,168.05
หัก หนี้สินรวม (51.84)
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (73.60)
มูลค่าสินทรัพย์ 1,042.61
เรียกชำระทุนจดทะเบียนเพิ่มเติม 1/ 432.35
ค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลงทุน2/ (15.49)
ภาระผูกพันตามสัญญาและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นภายหน้า (0.72)
มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ 1,458.75
จำนวนหุ้นทั้งหมด (ล้านหุ้น) 11.76
มูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น (บาท) 124.04
1/ ในปี 2549 BIL ได้ออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับ V-sciences Istithmar และ BBL
รวมเป็นจำนวนเงิน 885 ล้านบาท และเมื่อกรกฎาคม 2549 BILได้รับชำระค่าหุ้นจากการ
เพิ่มทุนดังกล่าว 452.65 ล้านบาท ดังนั้น ยังคงเหลือทุนที่ยังไม่ได้เรียกชำระอีกเป็น จำนวน
432.35 ล้านบาท
2/ เนื่องจากต้นปี 2549 BIH ได้เข้าซื้อ option ที่จะลงทุนในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ในประเทศจีนซึ่งเมื่อใช้สิทธิ จะทำให้ BIH มีการถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 26.9โรงพยาบาล
คิดเป็นจำนวน 35.03 ล้านบาท ร่วมกับผู้ถือหุ้นในพื้นที่และอื่นๆ แต่เนื่องจากผู้ถือหุ้นที่ร่วม
ทุนดังกล่าวไม่สามารถหาเงินทุนมาชำระค่าหุ้นได้ จึงทำให้การก่อสร้างไม่สามารถ
ดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ บริษัทจึงได้ทำการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าจากการลงทุนในประเทศจีน
จำนวน 19.54 ล้านบาท ในปี 2549 แต่อย่างไรก็ตามโครงการลงทุนดังกล่าวยังมีความ
เสี่ยงที่จะไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จ ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงได้ปรับปรุงโดย
ตั้งค่าเผื่อขาดทุนจากการลงทุนเพิ่มในส่วนที่เหลืออีก 15.49 ล้านบาท
ราคาหุ้นของ BIL โดยวิธีการปรับปรุงมูลค่าตามบัญชี เท่ากับ 124.04 บาทต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่า
ราคาที่ตกลงกันเท่ากับ (29.48) บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ (19.20) การประเมินหุ้น โดยวิธีนี้จะ
เป็นการสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของ BIL ได้ดีกว่าวิธีมูลค่าหุ้นตามบัญชีต่อหุ้นในข้อ 3.1.1
เนื่องจากได้คำนึงถึงภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต (Commitments and
Contingent Liabilities) รวมถึงส่วนเพิ่มหรือส่วนลดตามราคาตลาดของสินทรัพย์ถาวร
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ยังคงมิได้คำนึงถึงผลประกอบการและศักยภาพในการแข่งขันของ BIL ใน
อนาคตและไม่ได้คำนึงถึงแนวโน้มของภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโดยรวมอีกด้วย
3.1.3 วิธีอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี (Price to Book Value: P/BV)
การประเมินราคาหุ้นตามวิธีนี้ เป็นการนำมูลค่าตามบัญชีของ BIL ตามงบการเงินรวมภายใน
ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 88.65 บาทต่อหุ้น คูณกับค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนราคาต่อมูลค่า
ตามบัญชี (P/BV) ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ ตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเชีย และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
โดยบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลที่ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระนำมาใช้อ้างอิงจำนวน 14 แห่ง มีราย
ชื่อดังนี้
บริษัท ตัวย่อ ตลาดหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน
1. บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ
จำกัด (มหาชน)1/ BGH ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. บริษัท โรงพยาบาลกรุงธน จำกัด
(มหาชน) 1/ KDH ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
3. บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล
จำกัด (มหาชน) 1/ KH ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
4. บริษัท โรงพยาบาลนนทเวช จำกัด
(มหาชน) 1/ NTV ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
5. บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด
(มหาชน) 1/ RAM ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
6. บริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน)
1/ SKR ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
7. บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)
1/ SVH ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
8. บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด
(มหาชน) 1/ VIBHA ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
9. PANTAI HOLDINGDS BERHAD
2/ HPA ตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์
10. KPJ HEALTHCARE BERHERD
2/ KPJ ตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์
11. HEALTH MANAGEMENT INTL
LIMITED3/ HMI ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
12. PARKWAY HOLDINGS LIMITED
3/ PWAY ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
13. RAFFLES MEDICAL GROUP
LIMITED3/ RFMD ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
14. THOMSON MEDICAL CENTRE
LIMITED3/ THOM ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
1/ บริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
พิจารณาเฉพาะโรงพยาบาลที่ประกอบธุรกิจภายในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
2/ เป็นบริษัททั้งหมดที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลในตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์
3/ เป็นบริษัททั้งหมดที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์
ค่าเฉลี่ย P/BV ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลจำนวน 14 แห่ง ที่นำมาใช้อ้างอิงข้าง
ต้น ย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน นับจากวันที่ 26 มกราคม 2550
เป็นดังนี้
ระยะเวลา โรงพยาบาลในประเทศ (เท่า) โรงพยาบาลต่างประเทศ (เท่า) *Avg.
ย้อนหลัง BGH KDH KH NTV RAM SKR SVH VIBHA HPA KPJ HMI PWAY RFMD THOM (เท่า)
3 เดือน
4.22 4.49 0.71 1.51 2.50 1.70 0.86 3.05 2.09 0.94 2.06 6.27 3.62 1.81 2.56
6 เดือน
4.11 4.18 0.71 1.35 2.34 1.61 0.83 2.85 2.03 0.92 2.00 5.55 3.52 1.58 2.40
9 เดือน
4.18 3.98 0.70 1.31 2.23 1.65 0.82 2.64 1.98 0.86 2.05 5.08 3.31 1.50 2.31
12 เดือน
4.09 3.73 0.66 1.27 2.11 1.68 0.79 2.38 1.91 0.83 2.00 4.87 3.14 1.44 2.21
* ข้อมูลจาก www.setsmart.com และ Bloomberg
การประเมินโดยวิธีนี้มีสูตรคำนวณดังนี้
มูลค่าหุ้น = (P/BV Ratio * มูลค่าตามบัญชี (88.66 บาทต่อหุ้น)
จากการที่หุ้น BIL ไม่มีสภาพคล่องเนื่องจากไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ใดๆเช่นเดียวกับบริษัทต่างๆที่นำมาใช้อ้างอิง ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงได้นำค่าเฉลี่ยของอัตราส่วน
ราคาต่อมูลค่าตามบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่ใช้อ้างอิงมาปรับลด (discount) ลง
อีกประมาณร้อยละ 10-15 ซึ่งจะได้ราคาหุ้นดังนี้
ช่วงเวลา ค่าเฉลี่ย P/BV (เท่า) ราคาหุ้น (บาทต่อหุ้น)
ของบริษัทที่ใช้อ้างอิง ปรับลด 10% ปรับลด 15%
ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน 2.56 204.27 192.92
ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 6 เดือน 2.40 191.51 180.87
ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 9 เดือน 2.31 184.32 174.08
ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 12 เดือน 2.21 176.34 166.55
จากการคำนวณตามวิธีอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชี จะได้ราคาหุ้นของ BIL มีค่าอยู่
ระหว่าง 166.55 - 204.27 บาทต่อหุ้น ซึ่งสูงกว่าราคาที่ตกลงขายที่ 153.52 บาทต่อหุ้น อยู่เป็นจำนวน
13.03 - 50.75 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 - 33.06
เนื่องจากการประเมินมูลค่าด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่อ้างอิงมูลค่าตามบัญชีและอัตราส่วน P/BVของ
บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นหลัก ซึ่งเป็นการแสดงมูลค่าหุ้น ณ วันใดวันหนึ่งของกิจการ
เป็นการสะท้อนเฉพาะมูลค่าของสินทรัพย์ในอดีต ราคาหุ้นที่คำนวณได้จากวิธีนี้จึงไม่สะท้อนมูลค่าตลาด
ของสินทรัพย์ในปัจจุบัน รวมทั้งมิได้สะท้อนถึงความสามารถในการทำกำไรของกิจการในอนาคต
3.1.4 วิธีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด (Market Value)
วิธีนี้เป็นการประเมินมูลค่าหุ้นโดยใช้ราคาซื้อขายหลักทรัพย์ของ BIL ที่เกิดขึ้นย้อนหลังนับ
จากวันที่ 26 มกราคม 2550 เป็นต้นไป แต่เนื่องจาก BILไม่ได้เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลัก
ทรัพย์แห่งใดเลย จึงไม่มีราคาซื้อขายที่จะนำมาอ้างอิงได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถประเมินมูลค่าหุ้นตามราคา
ตลาดได้
3.1.5 วิธีอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (Price to Earning Ratio: P/E)
การประเมินราคาหุ้นตามวิธีนี้ เป็นการนำประมาณการกำไรสุทธิต่อหุ้นของ BIL ในปี 2550
มาคูณกับค่าเฉลี่ยของอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลที่จด
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์ ตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเชีย
และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลที่ที่ปรึกษาทางการเงิน
อิสระนำมาใช้อ้างอิงจำนวน 14 แห่ง เป็นบริษัทกลุ่มเดียวกันกับ ข้อ 3.1.3 โดยค่าเฉลี่ย P/E
ที่นำมาใช้อ้างอิง ย้อนหลัง 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน นับจากวันที่ 26 มกราคม
2550 เป็นดังนี้
ระยะเวลา โรงพยาบาลในประเทศ (เท่า) โรงพยาบาลต่างประเทศ (เท่า) Avg.
ย้อนหลัง BGH KDH KH NTV RAM SKR SVH VIBHA
HPA KPJ HMI PWAY RFMD THOM (เท่า)
3 เดือน 32.09 15.05 8.85 24.68 12.71 7.45 17.30 19.29
65.05 11.51 25.99 37.67 32.27 20.83 23.62
6 เดือน 32.67 14.22 10.19 24.09 12.39 7.33 15.44 19.41
55.64 11.25 25.20 35.76 31.36 18.29 22.37
9 เดือน 34.50 14.15 11.24 24.87 12.24 7.65 15.02 19.24
45.05 10.60 22.88 33.58 29.53 17.50 21.29
12 เดือน 35.41 13.92 10.56 24.65 12.06 8.46 14.81 18.17
38.20 10.24 21.08 32.32 28.01 16.81 20.34
การประเมินโดยวิธีนี้มีสูตรคำนวณดังนี้
มูลค่าหุ้น = [(P/E Ratio) * ประมาณกำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2550 เท่ากับ 1.58 (บาท) ]
* ที่มา :จากประมาณการงบการเงินของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระที่คำนวณกำไรสุทธิปี 2550
ได้เท่ากับ 18.59 ล้านบาท หรือ คิดเป็นประมาณการกำไรสุทธิต่อหุ้นปี 2550 เท่ากับ 1.58
บาท (จำนวนหุ้นเท่ากับ 11.76 ล้านหุ้น) ทั้งนี้สมมติฐานที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเอกสารแนบท้าย
เมื่อนำค่าเฉลี่ย P/E ของบริษัทที่ประกอบธุรกิจโรงพยาบาลข้างต้นมาปรับลด (discount)
ลงอีกประมาณร้อยละ 10-15 เนื่องจากหุ้น BIL ไม่ได้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ใดๆ
เช่นเดียวกับบริษัทต่างๆที่ใช้อ้างอิงจึงทำให้ไม่มีสภาพคล่อง คูณกับประมาณการกำไรสุทธิต่อหุ้นของปี 2550
ซึ่งเท่ากับ 1.58 บาท จะได้ราคาหุ้นดังนี้
ช่วงเวลา ค่าเฉลี่ย P/E (เท่า) ราคาหุ้น(บาทต่อหุ้น)
ของบริษัทที่ใช้อ้างอิง ปรับลด 10% ปรับลด 15%
ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 3 เดือน 23.62 33.59 31.72
ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 6 เดือน 22.37 31.81 30.04
ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 9 เดือน 21.29 30.27 28.59
ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 12 เดือน 20.34 28.92 27.32
หมายเหตุ : * ข้อมูลจาก www.setsmart.com และ Bloomberg
จากการคำนวณโดยวิธีอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ จะได้ราคาหุ้นของ BIL มีค่าอยู่ระหว่าง
27.32 ? 33.59 บาทต่อหุ้น ซึ่งต่ำกว่าราคาที่บริษัทตกลงขายที่ 153.52 บาทต่อหุ้น อยู่เป็นจำนวน
(126.20)- (119.93) บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ (82.21) - (78.12)
การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่พิจารณาจากกำไรของ BILเพียง 1 ปีเท่านั้น
โดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยความสามารถในการทำกำไรในอนาคตของกิจการ
3.1.6 วิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow)
การประเมินมูลค่าวิธีนี้เป็นการประเมินโดยพิจารณาถึงผลประกอบการของ BIL (เฉพาะ
บริษัท) AHI และ BHD ในอนาคตเป็นหลัก ซึ่งเป็นการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดของ
BIL (เฉพาะบริษัท) มารวมกับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดของ AHI และ BHD(ตามสัดส่วนการถือ
หุ้นของ BIL ใน AHI และ BHD) ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต (Present Value of Discounted
Free Cash flow) จากประมาณการงบการเงินที่ได้จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2550 ถึง ปี 2559
โดยมีสมมติฐานว่า BIL AHI และ BHD ยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปอย่างต่อเนื่อง(Going Concern
Basis) และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งเป็นไปภายใต้ภาวะเศรษฐกิจ
และสถานการณ์ในปัจจุบัน
ประมาณการทางการเงินนี้จัดเตรียมขึ้นโดยบริษัทและที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท ที่
ปรึกษาทางการเงินอิสระได้ตรวจสอบและปรับปรุงให้สอดคล้องกับดุลยพินิจและข้อเท็จจริงที่ที่ปรึกษา
การเงินอิสระได้รับซึ่งสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและข้อมูลที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการศึกษาเท่านั้นหาก
ปัจจัยดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญก็อาจส่งผลกระทบต่อการประเมินมูลค่าหุ้นได้
มูลค่าหุ้นของกิจการที่ได้จากการประเมินโดยวิธีนี้จะเปลี่ยนแปลงไปจากที่คำนวณได้ หากมี
การเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากปัจจัยภายนอกอื่นที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการ อัตรา
ส่วนลดที่ใช้ในการคำนวณมูลค่าปัจจุบันกระแสเงินสดในอนาคต คำนวณจากต้นทุนทางการเงินถัวเฉลี่ย
ถ่วงน้ำหนัก (Weighted Average Cost of Capital : WACC) ของ BIL AHI และ BHD
โดยคำนวณจาก
- ประมาณการต้นทุนการกู้ยืมเงินเฉลี่ย ( Average Cost of Debt : Kd) ซึ่งมีค่าเท่ากับศูนย์
สำหรับ BIL เนื่องจาก BIL ไม่มีเงินกู้ยืมและ AHI มีอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเฉลี่ยระหว่างร้อยละ 8.16
ถึงร้อยละ 13.18 ในระหว่างปี 2550 ถึงปี 2559
- อัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (Cost of Capital : Ke) คำนวณจาก Capital Asset
Pricing Model (CAPM) โดยตัวแปรที่ใช้ในการคำนวณอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น (Cost of
Capital : Ke)
เป็นดังนี้
Ke = Rf + B(Rm - Rf)
เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์ไม่มีบริษัททำธุรกิจการแพทย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดัง
นั้น ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงอ้างอิงจากค่า ? เฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจการการแพทย์และจดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศ ฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ และ มาเลเซีย
โดยที่
BIL AHI BHD
ประเทศ ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์
Rf อัตราผลตอบแทนที่ไม่มี
ความเสี่ยง 5.12% 6.53% 9.97%
ที่มา: อัตราผลตอบแทนพันธ
บัตรรัฐบาล อายุ 15 ปี ที่มา : Bloomberg ที่มา : Bloomberg
Rm อัตราผลตอบแทนการลง
ทุนในตลาดหลักทรัพย์ 10.46% 13.21% 9.97%
ที่มา : อัตราผลตอบแทนการ ที่มา Bloomberg ที่มา Bloomberg
ลงทุนเฉลี่ยในตลาดหลัก
ทรัพย์แห่งประเทศไทยเฉลี่ย
15 ปี
B ค่าความแปรปรวนระหว่าง 0.84 0.73 0.73
(เบต้า)ผลตอบแทนของตลาดหลัก
ทรัพย์ฯกับราคาหุ้นของกิจการ
ที่มา:อ้างอิงจากค่าของบริษัท ที่มาเนื่องจากประเทศ
เนื่องจาก BIL ไม่ได้จด ฟิลิป์ปินส์ไม่มีบริษัททำธุรกิจ
ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ การแพทย์จดทะเบียนใน
แห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์ ดัง
นั้น ที่ปรึกษาทางการ
เงินอิสระจึงอ้างอิงจากค่าB ที่มา อ้างอิงจากค่าB
เฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจการ เฉลี่ยของบริษัทที่ทำธุรกิจการ
การแพทย์และจดทะเบียนใน การแพทย์และจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศ ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศ
ฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไทย สิงคโปร์
และ มาเลเซีย และ มาเลเซีย
Ke อัตราผลตอบแทนของผู้ถือ
หุ้น 10.57%1/ 12.55%1/ 12.241/2/
หมายเหตุ : 1/ เนื่องจากทั้ง BIL และ AHI ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงได้ปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นจากที่คำนวณได้ตามสูตรข้างต้นอีกร้อยละ
10 ของอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นที่คำนวณได้เพื่อชดเชยต่อความเสี่ยงดังกล่าว
2/ เนื่องจากโรงพยาบาลของ BHD กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จและ
เปิดดำเนินการได้ประมาณต้นปี 2552 จึงยังคงมีความไม่แน่นอนในหลายๆด้านเช่น
มูลค่าการก่อสร้างอาจจะเพิ่มสูงขึ้น การก่อสร้างอาจจะล่าช้าออกไป ดังนั้นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ
จึงได้ปรับเพิ่มอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นอีกร้อยละ 20 เพื่อชดเชยความเสี่ยงดังกล่าว
จากข้อมูลและสมมุติฐานตามตารางข้างต้น ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระคำนวณหามูลค่าหุ้นของ
BIL ด้วยวิธีมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดได้เท่ากับ 144.62บาทต่อหุ้น
นอกจากนี้ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระได้วิเคราะห์ความไว (Sensitivity Analysis)
ของอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น ในอัตรา บวก/ลบ ร้อยละ 10 ซึ่งจะคำนวณมูลค่าหุ้นของ BIL
มีค่าอยู่ระหว่าง 132.21 - 160.25 บาทต่อหุ้น
สรุปความเห็นของที่ปรึกษาการเงินเกี่ยวกับราคาหุ้นที่ BIL เสนอขาย
ตารางสรุปเปรียบเทียบราคาหุ้นของ BIL ตามการประเมินราคาด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
วิธีการประเมินราคาหุ้น ราคาเสนอขาย ราคาประเมิน ราคาเสนอขายสูง % สูงกว่า
(หน่วย : บาทต่อหุ้น) (1) (2) (ต่ำกว่า)ราคาประเมิน (ต่ำกว่า) ราคาประเมิน
(1)-(2) (1)-(2ฉ
1.วิธีมูลค่าตามบัญชี 153.52 88.66 (64.86) (42.25)
2.วิธีปรับปรุงมูลค่าตามบัญชี 153.52 124.04 (29.48) (19.20)
3.วิธีอัตราส่วนราคาต่อมูลค่า
ตามบัญชี 153.52 166.55-204.27 13.03 - 50.75 8.49 -33.06
4.วิธีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด 153.52 N.A N.A. N.A.
5.วิธีอัตราส่วนราคาต่อ
กำไรต่อหุ้น 153.52 27.32 - 33.59 (126.20)-(119.93)
(82.21) - (78.12)
6.วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของ
กระแสเงินสด 153.52 132.21-160.25 (21.31) - 6.73
(13.88) - 4.38
จากการเปรียบเทียบราคาหุ้นที่คำนวณได้ด้วยวิธีต่างๆนั้นจะเห็นว่าวิธีมูลค่าตามบัญชี วิธีปรับ
ปรุงมูลค่าตามบัญชีและวิธีอัตราส่วนราคาต่อมูลค่าตามบัญชีเป็นวิธีที่สะท้อนมูลค่าหุ้น ณ วันใดวันหนึ่ง
ของกิจการและสะท้อนเฉพาะมูลค่าของสินทรัพย์ในอดีต โดยมิได้คำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจตลอดจนสภาพ
การแข่งขันในอนาคต ดังนั้นวิธีดังกล่าวจึงไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของ BIL เนื่องจากมิได้คำนึงถึง
ความสามารถในการทำกำไรและกระแสเงินสดในอนาคตของ BIL
สำหรับวิธีอัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้นนั้นเป็นวิธีที่สะท้อนความสามารถในการทำกำไรของ
BIL เพียง 1 ปีเท่านั้น โดยมิได้คำนึงถึงปัจจัยความสามารถในการทำกำไรของกิจการในอนาคต
ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเห็นว่า ด้วยข้อจำกัดต่างๆข้างต้น วิธีที่เหมาะสมในการประเมินมูล
ค่าหุ้นของ BIL คือวิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดซึ่งเป็นวิธีที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของมูลค่า
หุ้น ทั้งนี้เนื่องจากวิธีดังกล่าวเป็นวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นที่ได้คำนึงถึงกระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นโดยมี
สมมุติฐานที่คำนึงถึงแนวโน้มการประกอบธุรกิจในอนาคตไว้ด้วยแล้ว
จากการคำนวณมูลค่าหุ้นด้วยวิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสดจะได้ราคาหุ้นของ BIL
ราคาประเมินได้เท่ากับ 144.62 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาหุ้นเพิ่มทุนที่เสนอขายในครั้งนี้ที่
เท่ากับ 153.52 บาท เป็นจำนวน 8.90 บาทต่อหุ้นหรือคิดเป็นร้อยละ 5.79 และ
ราคาประเมินดังกล่าวเป็นราคาที่อยู่ระหว่างช่วงของราคาประเมินสูงสุดและต่ำสุดเท่ากับหุ้นละ 132.21 ?
160.25 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาต่ำกว่าราคา153.52 บาทต่อหุ้นอยู่ เท่ากับ (21.31) บาทต่อหุ้น
คิดเป็นร้อยละ (13.88) และสูงกว่าราคาเสนอซื้อเท่ากับ 6.73 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 4.38
เท่านั้น
ดังนั้นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงเห็นว่าราคาหุ้นสามัญของ BIL ที่จะออกใหม่ในอนาคต
โดยที่บริษัท ได้สละสิทธิของบริษัทในการจองซื้อหุ้นสามัญที่จะออกใหม่ของ BIL นี้ ให้กับ AFH ซึ่งเป็น
บุคคลที่เกี่ยวโยงกันเป็นราคาที่เหมาะสม และเป็นราคาเดียวกับที่ได้เสนอขายให้กับนักลงทุนรายอื่นก่อน
หน้านี้
3.2 ความเหมาะสมของเงื่อนไขของรายการ
ในอนาคตเป็นระยะๆ BIL อาจจะต้องเพิ่มทุนจำนวนมาก เพื่อรองรับการลงทุนในอนาคต
สำหรับหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกโดย BIL ในจำนวนไม่เกิน 7,282,908 หุ้น ซึ่ง BIL จะเสนอขายให้กับผู้ถือ
หุ้นของ BIL ตามสัดส่วนการถือหุ้น ในราคาหุ้นละ 153.52 บาท คณะกรรมการของบริษัทมีมติให้บริษัท
สละสิทธิในการจองซื้อหุ้นที่จะออกใหม่ในอนาคตของบริษัทคิดเป็นจำนวนไม่เกิน 3,714,283 หุ้น ให้แก่
AFH ในราคา 153.52 บาทต่อหุ้น ซึ่งราคาที่เสนอขายให้แก่ AFH ดังกล่าวนั้นเป็นราคาเดียวกันกับบุคคล
ภายนอกที่ BIL ได้เคยทำรายการเพิ่มทุนให้กับบุคคลภายนอกในปี 2549 ที่ผ่านมา ดังนั้นที่ปรึกษาทางการ
เงินอิสระจึงมีความเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมและเท่าเทียมกัน และประกอบกับเงื่อนไขการ
เข้าทำรายการดังกล่าวก็มีความเหมาะสม โดยสรุปได้ดังนี้
1) การอนุมัติของที่ประชุมคณะกรรมการของ AFH ปัจจุบัน AFH ได้แจ้งว่าการเข้าทำธุร
กรรมได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการการลงทุน (Investment Committee) ซึ่งได้รับการ
แต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการลงทุนได้แจ้งให้ Executive Committee
และคณะกรรมการบริษัท AFH ทราบแล้ว
2) บริษัท AFH และผู้ถือหุ้นเดิมของ BIL อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขสัญญาต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม ซึ่งได้แก่ สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholders agreement) และ สัญญา
ซื้อหุ้น (Share Sub Scription Agreement) ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการที่ AFH จะ
เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใน BIL ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามได้ภายใน 90 วัน นับจากวันที่
ประชุมคณะกรรมการบริษัทให้เข้าทำธุรกรรม
3) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทอนุมัติการทำธุรกรรมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยไม่นับ
ส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย
4) บริษัท AFH และผู้ถือหุ้นเดิมของ BIL ได้รับอนุมัติหรือได้รับอนุญาตในทุกเรื่องตามกฎ
ระเบียบข้อบังคับสำหรับการทำธุรกรรม กล่าวคือ ทั้ง บริษัท AFH และผู้ถือหุ้นเดิมของ
BIL ต้องดำเนินการเพื่อให้ได้รับอนุญาตจากองค์กรของตน (Corporate Approval Process)
ก่อนเข้าดำเนินการทำธุรกรรมนี้
4. สรุปความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ
การสละสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญที่ออกใหม่ในอนาคตของ BIL จำนวนไม่เกิน 3,714,283
หุ้นในราคาหุ้นละ 153.52 บาท ในครั้งนี้ จะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนของบริษัท เนื่องจาก
BIL เป็นบริษัทที่เน้นการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศที่มีความเสี่ยง (Risk Profile)
ตามการประกอบธุรกิจในแต่ละประเทศที่แตกต่างจากบริษัท นอกจากนี้ การทำธุรกรรมดังกล่าว
จะช่วยลดภาระการลงทุนของบริษัทและลดผลกระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทหากเทียบกับการ
ที่บริษัทยังดำรงการถือหุ้นใน BIL ในสัดส่วนร้อยละ 51.00 ของทุนจดทะเบียน
ในการที่บริษัท สละสิทธิการจองหุ้นสามัญออกใหม่ในอนาคตของ BIL ให้กับ AFH ซึ่งเป็น
บุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัทในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยให้ BIL สามารถใช้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจใน
ประเทศจีน ไต้หวัน และฮ่องกงของ AFH ให้เอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของ BIL กล่าวคือธุรกิจประกันชีวิต
ของ AFH อาจช่วยขยายฐานลูกค้าของ BIL ให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว ยังเป็นเพิ่มโอกาสการลงทุนใน
โครงการต่างๆ เนื่องจาก AFH เป็นนักลงทุนที่มีเงินทุนและมีความเข้าใจในความเสี่ยงต่างๆ
จากการลงทุน
นอกจากนี้เนื่องจากบริษัทมีแผนที่จะลงทุนในการขยายสถานที่และปรับปรุงสิ่งอำนวยความ
สะดวกต่างๆ ของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในกรุงเทพเป็นจำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนจาก
กระแสเงินสดภายในบริษัทและเงินกู้ยืมจากธนาคารดังนั้นหากบริษัทยังต้องมีภาระการลงทุนในต่าง
ประเทศอีก ก็อาจจะกระทบกับแผนการลงทุนในประเทศได้เนื่องจากบริษัทอาจมีข้อจำกัดในด้านเงินลง
ทุน และในขณะเดียวกันการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาลในต่างประเทศมีความเสี่ยง ดังนั้น
ที่ปรึกษาทางการเงินมีความเห็นว่าการที่บริษัทสละสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญใหม่ของ BIL
ที่จะออกใหม่ในอนาคตจำนวนไม่เกิน 3,714,283 หุ้น ให้แก่ AFH ในราคาหุ้นละ 153.52 บาท
เป็นราคาที่เหมาะสม ซึ่งเป็นราคาเดียวกันกับที่เสนอขายให้แก่ V-Sciences, Istithmar, และ BBL
ในครั้งก่อนนั้น
ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงมีความเห็นว่า ผู้ถือหุ้นของบริษัทควรลงมติอนุมัติการทำรายการ
เกี่ยวโยงกันในครั้งนี้ เนื่องจากการทำรายการดังกล่าว มีความสมเหตุสมผลราคาและเงื่อนไขของรายการ
ยุติธรรม
ในการพิจารณาการให้ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับการทำรายการเกี่ยวโยง
ในครั้งนี้ ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระได้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายบริหารของบริษัทได้แก่
มติคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2550 สารสนเทศที่บริษัทแจ้งต่อตลาดหลัก
ทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 งบการเงินของ BIL และ AHI ย้อนหลัง 3 ปี
ระหว่างปี 2546-2548 ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี และงบการเงินภายในสำหรับงวด 9 เดือน
ตั้งแต่เดือน ม.ค- ก.ย. 2549 ประมาณการงบการเงินของ BIL และ AHI
ข้อมูลเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจากบริษัท การสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัท รวมถึงข้อมูลที่เผยแพร่ต่อ
สาธารณชนทั่วไป
ทั้งนี้ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่าข้อมูลและเอกสารที่ได้รับ
จากบริษัท ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้บริหารของบริษัทเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นความจริง การให้ความ
เห็นจึงตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่พิจารณาจากสภาวะเศรษฐกิจและข้อมูลที่เกิดขึ้นในขณะที่ทำการศึกษาเท่านั้น
หากปัจจัยดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญก็อาจส่งผลกระทบต่อความเห็นของที่ปรึกษาทางการ
เงินอิสระได้
ขอแสดงความนับถือ
บริษัท แอดไวเซอรี่ พลัส จำกัด
------------------------------------------------
(นายประเสริฐ ภัทรดิลก)
กรรมการผู้อำนวยการ
Asian Hospital Inc.
สมมุติฐานที่สำคัญที่ใช้ในการจัดทำประมาณการงบการเงินสรุปได้ดังนี้
สรุปงบการเงินของ AHI ปี 2549
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ ม.ค- ก.ย. 2549
ลูกหนี้การค้า 98.32
สินทรัพย์หมุนเวียน 431.50
สินทรัพย์รวม 2,506.24
หนี้สินรวม 1,320.19
ส่วนของผู้ถือหุ้น 1,624.73
รายได้รวม 694.35
ค่าใช้จ่ายรวม 632.07
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี 62.28
กำไรสุทธิ (49.92)
1. อัตราแลกเปลี่ยน
กำหนดให้เท่ากับ 1 เปโซ เท่ากับ 0.73 บาท อ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี
(กุมภาพันธ์ 2549 ถึง มกราคม 2550)
2. อัตราการใช้เตียงคนไข้ต่อวัน
ในปี 2549 ที่ผ่านมา AHI มีอัตราการใช้เตียงคนไข้ต่อวันเท่ากับ 159 เตียงต่อวันหรือเพิ่มสูงจากปี 2548
ที่ 150 เตียงต่อวันคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ6 ดังนั้นในปี 2550
จึงกำหนดให้เพิ่มขึ้นเท่ากับร้อยละ 6 เช่นเดียวกันกับปี 2549 ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป
กำหนดให้เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4 ? 5 เนื่องจากเพื่อให้ใกล้เคียงกับอัตราเดิม
โดยกำหนดให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในปี 2551 และ ปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ในปี 2553 และ
ปี 2554 ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงปี 2553 เป็นต้นไป อัตราการครองเตียงคนไข้ (Occupancy Rate)
อยู่ที่ร้อยละ 75 ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้กับร้อยละ 80 ซึ่งเป็นอัตราการครองเตียงคนไข้ที่สูงที่สุด
และสำหรับในปี 2555 เป็นต้นไปถึงปี 2559 นั้น กำหนดให้มีจำนวนคงที่เนื่อง จากอัตราการครอง
เตียงคนไข้ (Occupancy Rate) จะเพิ่มสูงถึงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งเป็นอัตราการครองเตียงคนไข้
ที่สูงที่สุด หากเพิ่มสูงกว่านี้จะทำให้คุณภาพลดลง
3. จำนวนวันที่เข้าใช้บริการ
ปี 2548 เท่ากับ 3.62 วันต่อครั้ง ในปี 2549 จำนวนวันที่เข้าใช้บริการเท่ากับ 3.4 วันต่อครั้ง
เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนและสามารถรองรับคนไข้ได้เพิ่มมากขึ้น
จึงกำหนดให้จำนวนวันเฉลี่ยที่ผู้ป่วยแต่ละรายเข้าใช้บริการต่อครั้งในปี 2550 เท่ากับ 3.3 วันต่อครั้ง
และเท่ากับ 3.2 วันต่อครั้งตั้งแต่ปีปี 2551 ถึงปี 2559
4. รายได้จากผู้ป่วยในต่อวัน
ปี 2548 รายได้เท่ากับ 15,101 เปโซต่อวัน กำหนดให้รายได้ในปี 2549 เท่ากับ 17,743
เปโซต่อผู้ป่วยในต่อวัน ในปี 2550 บริษัทได้ปรับอัตราค่าบริการเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงกำหนดให้เพิ่มเป็น
21,454 เปโซต่อวันในปี 2550 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.00 ในปี 2551 ถึง 2559
ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศฟิลิปปินส์
5. จำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน
ในปี 2548 มีจำนวนเท่ากับ 237 คนต่อวัน ในปี 2549 มีจำนวนเท่ากับ 342 คนต่อวันหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ
6 จากปี 2548 ในปี 2550 จึงกำหนดให้เพิ่มขึ้นเท่ากับปี 2549 คือเท่ากับร้อยละ 6 เป็นเท่ากับ 362
คนต่อวัน และเพื่อให้สอดคล้องกับสมมุติฐานของอัตราการใช้เตียงคนไข้ของผู้ป่วยในต่อวันในข้อที่ 2
จึงกำหนดให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในปี 2551 และปี 2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ในปี 2553 และปี 2554
และมีจำนวนคงที่ตั้งแต่ปี 2555 ถึงปี 2559
6. รายได้ผู้ป่วยนอกต่อครั้ง
ปี 2548 เท่ากับ 2,757 เปโซต่อวัน ในปี 2549 รายได้ผู้ป่วยนอกเท่ากับ 3,047 เปโซต่อวัน
กำหนดให้ในปี 2550 เท่ากับ 3,169 เปโซต่อวัน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปี 2559
ซึ่งเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศฟิลิปปินส์
7. รายได้อื่น
รายได้อื่นในปี 2548 เท่ากับ 18.98 ล้านเปโซต่อวัน ในปี 2549 เท่ากับ 23.82 ล้านเปโซ
กำหนดให้ในปี 2550 ถึง ปี 2559 มีมูลค่าคงที่เท่ากับ 16.3 ล้านเปโซต่อปี
8. ค่าใช้จ่ายวัสดุในการรักษาพยาบาลและอุปกรณ์การแพทย์
ในปี 2548 มีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 69 ของรายได้จากค่ารักษาพยาบาล ในปี 2549 เท่ากับ ร้อยละ 58
เนื่องจากภายหลังการเข้าถือหุ้นใน AHI ประมาณต้นปี 2548 เป็นต้นมา
บริษัทได้ปรับปรุงการบริหารงานภายในให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงทำให้สัดส่วนของค่าใช้จ่าย
มีแนวโน้มลดลงดังจะเห็น ได้ว่าในปี 2549 มีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 58 ลดลงจากร้อยละ 69 ในปี 2548
ดังนั้นในอนาคตจึง กำหนดให้เท่ากับร้อยละ 55 ในปี 2550 เท่ากับร้อยละ 54 ในปี 2551
เท่ากับร้อยละ 53 ในปี 2552 เท่ากับร้อยละ 51 ในปี 2553 เท่ากับร้อยละ 50
ในปี 2554 ถึงปี 2559
9. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เงินเดือน ค่าธรรมเนียมการบริหารและอื่นๆ
ภายหลังการเข้าถือหุ้นใน AHI ประมาณต้นปี 2548 เป็นต้นมา บริษัทได้ปรับปรุงการบริหารงาน
ภายในให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น จึงทำให้สัดส่วนของค่าใช้จ่ายมีแนวโน้มลดลงดังจะเห็นได้ว่าในปี 2548
มีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 21.47 และปี 2549 ลดลงเหลือเท่ากับร้อยละ 20.62
ของรายได้ค่ารักษาพยาบาล ดังนั้นจึงกำหนดให้เท่ากับร้อยละ 21 ในปี 2550 ถึง ปี 2551
และเท่ากับร้อยละ 20 ในปี 2552 เท่ากับร้อยละ 16- 17 ในปี 2553 ถึง ปี 2559
10. ค่าใช้จ่ายเงินลงทุนในที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์
บริษัทประมาณการว่ามีค่าใช้จ่ายลงทุนอุปกรณ์การแพทย์ในปี 2550 ถึง ปี 2559 เฉลี่ยประมาณปีละ
50 - 100 ล้านเปโซ
11. เงินทุนหมุนเวียน
ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย 60 วัน
สินค้าคงเหลือเฉลี่ย 34 วัน
เจ้าหนี้การค้าเฉลี่ย 100 - 170 วัน
12. อัตราการขยายของกระแสเงินสุทธิ (Terminal Value Growth)
กำหนดให้มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.00 ต่อปี
Bumrungrad Hospital Dubai (BHD)
ประมาณการนี้จัดทำขึ้นโดยมีสมมุติฐานว่า โรงพยาลบาล BHD จะเริ่มเปิดดำเนินการต้นปี 2552
1. อัตราแลกเปลี่ยน
1 AED (สกุลเงินของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต์) เท่ากับ 10.23 บาท
1 USD (ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา) เท่ากับ 37.57 บาท
อ้างอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยย้อนหลัง 1 ปี (กุมภาพันธ์ 2549 ถึง มกราคม 2550)
2. อัตราการใช้เตียงคนไข้ต่อวัน
เนื่องจากในปี 2552 เป็นปีแรกที่เริ่มเปิดดำเนินการ จึงกำหนดให้ในปี 2552
มีอัตราการใช้เตียงคนไข้ต่อวันเท่ากับ 31 เตียงต่อวัน ในปี 2553 เป็นปีที่สองของการดำเนินกิจการ
BHD เริ่มเป็นรู้จักมากขึ้น จึงได้กำหนดให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 97 ในปี 2553 เป็น 61 เตียงต่อวัน เพิ่มเป็น
66 เตียงต่อวันในปี 2554 เพิ่มเป็น 75 เตียงต่อวันในปี 2555 เพิ่มเป็น 78 เตียงต่อวันในปี 2556
เพิ่มเป็น 81 เตียงต่อวันในปี 2557 เพิ่มเป็น 84 เตียงต่อวันในปี 2558 เพิ่มเป็น 87
เตียงต่อวันในปี 2559
3. จำนวนวันที่ใช้บริการ
กำหนดให้จำนวนที่เข้าใช้บริการเท่ากับ 3.2 วันต่อครั้ง ตั้งแต่ปี 2552 ถึงปี 2559
เนื่องจากเป็นจำนวนวันที่ บริษัทคาดการณ์ว่าเหมาะสมที่สุด จากประสบการณ์การดำเนินธุรกิจ
โรงพยาบาลของบริษัท
4. รายได้จากผู้ป่วยในต่อวัน
กำหนดให้ในปี 2552 เท่ากับ 5,280 AED ต่อวัน เนื่องจาก BHD เพิ่มเปิดดำเนินกิจการ
ดังนั้นจึงมีนโยบายที่จะไม่ปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นมากนัก จึงกำหนดให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีทุกปี เป็นเท่ากับ
7,429 AED ต่อวัน
5. จำนวนผู้ป่วยนอกต่อวัน
เนื่องจากในปี 2552 เป็นปีแรกที่เริ่มเปิดดำเนินการ จึงกำหนดให้ในปี 2552
จำนวนผู้ป่วยนอกต่อวันเฉลี่ยเท่ากับ 123 คนต่อวัน ในปี 2553 เป็นปีที่สองของการดำเนินกิจการ BHD
เริ่มเป็นรู้จักมากขึ้น จึงได้กำหนดให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 95 เป็น 240 คนต่อวัน เพิ่มเป็น 261 คนต่อวันในปี
2554 เพิ่มเป็น 295 คนต่อวันในปี 2555 เพิ่มเป็น 309 คนต่อวันในปี 2556 เพิ่มเป็น 319
คนต่อวันในปี 2557 เพิ่มเป็น 328 คนต่อวันในปี 2558 เพิ่มเป็น 338 คนต่อวันในปี 2559
6. รายได้ผู้ป่วยนอกต่อครั้ง
กำหนดให้ในปี 2552 เท่ากับ 798 AED ต่อวัน เนื่องจาก BHD เพิ่มเปิดดำเนินกิจการ
ดังนั้นจึงมีนโยบายที่จะไม่ปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นมากนัก จึงกำหนดให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปีทุกปี เป็นเท่ากับ
1,122 AED ต่อวัน
7. ค่าใช้จ่ายวัสดุในการรักษาพยาบาลและอุปกรณ์การแพทย์
กำหนดให้เป็นสัดส่วนกับรายได้จากค่ารักษาพยาบาล โดยในปี 2552 ให้เท่ากับร